ผลกระทบของการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จขององค์กร ของธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ธีระ โลสันตา
ขจิต ณ กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 98 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน และด้านการถ่ายโอนข้อมูล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ผลลัพธ์จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรให้ความสำคัญในการนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางการบัญชี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563ก). คู่มือการดาวน์โหลดและเตรียมข้อมูลงบการเงิน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563, จาก http://efiling.dbd.go.th/efiling-documents/ExcelXBRL-Manual.pdf

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563ข). แหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคลและประเภทธุรกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristicInfo.

จันทนา สาขากร และคณะ. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

จินตนา สิงจานุสงค์. (2559). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2561). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของผู้บริหารทางบัญชีที่ทำงานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(41), 5-24.

ธนาคารออมสิน. (2563). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/industrial-economics/industry-update/manufacturing/food-and-drink/1754/

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2561). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

พัชรินทร์ คำหาญ. (2556). ผลกระทบของคุณภาพโปรแกรมสำเร็จรูปบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินของธุรกิจ SMEs จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฤติมา มุ่งหมาย และอโนชา สุวรรณสาร. (2562). ผลกระทบต่อการใช้ซอฟต์แวร์ในงานบัญชีของธุรกิจ SMEsในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 151-165.

วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2560). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/IhJcrKfW69.pdf

สมใจ ลักษณะ. (2552). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2562). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : จี.พี. ไซเบอร์พริ้นท์.

อัจฉราภรณ์ ทวะชารี. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุเทน เลานําทา. (2560). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Aaker, D.A., Kumar, V. & Day, G.S. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York: John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making. 4th ed., Business Statistics for Contemporary Decision Making. New York : John Wiley and Sons.

Chong, Y., & Nizam, I. (2018). The Impact of Accounting Software on Business Performance. FTMS College, Cyberjaya, Selangor, Malaysia.

Ditkaew, K., Pitchayatheeranart, L., & Jermsittipasert, K. (2020). The Causal StructureRelationships between Accounting Information System Quality, Supply Chain Management Capability, and Sustainable Competitive Advantage of Mize. International Journal of Supply Cahin Management. 9(1), 144-154.

Hair, J.F., Black, W.C., & Anderson, R.E. (2006). Multivariate data Analysis. 6th Ed. New Jersey: Pearson Education International.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Wickramsainghe, D.M.J., Pemarathna, R., Cooray, N., & Dissanayake, T., (2018). Impact of Accounting Software for Business Performance. Rajarata University, Sri Lanka.