การวิเคราะห์อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด

Main Article Content

โชคชัย เดชรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด ตามเกณฑ์มาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ในลักษณะกรณีศึกษา (Case study) โดยศึกษาจากข้อมูลจากทุติยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ งบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด พ.ศ. 2559-2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ (Standard Ratio) และวิเคราะห์เปรียบเทียบอนุกรมเวลา (Time series comparison) พ.ศ. 2559-2563 ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมอัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด อยู่ในระดับชั้นคุณภาพสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ ( C +) จนถึงระดับชั้นคุณภาพค่อนข้างดี (B) อัตราส่วนทางการเงินหมวดโครงสร้างทางการเงินอยู่ในระดับชั้นคุณภาพต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุง (D) ถึงระดับชั้นคุณภาพค่าที่ยอมรับได้ (C) เมื่อวิเคราะห์อนุกรมเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2559-2563 พบว่าแนวโน้มดีขึ้น อัตราส่วนทางการเงินหมวดสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับชั้นคุณภาพดีเยี่ยมเกินความคาดหมาย (A +) และมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง อัตราส่วนทางการเงินหมวดประสิทธิภาพทำรายได้อยู่ในระดับชั้นคุณภาพค่อนข้างดี(B) ถึงระดับชั้นคุณภาพดีเยี่ยม (A) แต่มีแนวโน้มลดลง อัตราส่วนทางการเงินหมวดคุณภาพสินทรัพย์และป้องกันความเสี่ยงอยู่ในระดับชั้นคุณภาพดีเยี่ยมเกินความคาดหมาย (A +) และมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง จากผลการวิจัยในครั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ฯควรดำรงทุนสำรองต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้สมาชิกฝากเงินกับสหกรณ์เพิ่มขึ้น และควรนำเงินสด เงินฝากธนาคาร ไปลงทุนหารายได้เพิ่มขึ้น โดยลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ให้หน่วยงานอื่นกู้ยืม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่เหมาะสม และเป็นไปตามกฎหมายกำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564. หมวด 1 การกำหนดขนาดของสหกรณ์. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 110 ลง 10 ก.พ. 2564

ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. (2560). คู่มือประเมินเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561, จาก www.fsct.com

โชคชัย เดชรอด. (2561). การเงินธุรกิจ.อุดรธานี. แม่ละมุลการพิมพ์

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย พ.ศ. 2562.สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก www.bot.or.th

ธันวา เลาหศิริวงศ์. (2561). แนวทางการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการเงินไทย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/8423e.html

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 30ก. หน้า 1 ลว. 23 เมษายน 2542. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://sccl.stou.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/CooperativeACT2542amended..pdf

เพชรี ขุมทรัพย์.(2554). วิเคราะห์งบการเงินหลักและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด. (2564). รายงายการประชุมคณะกรรมการชุดที่ 12 (อัดสำเนา)