ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

จารุวรรณ แซ่เต้า
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ
วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 131 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านความรู้และความสามารถทางการบัญชี ด้านบุคลากรและการสื่อสาร และด้านทักษะการจัดการองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงาน ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

Article Details

How to Cite
แซ่เต้า จ., ตันติเศรษฐ ณ., & เปรมพาณิชย์นุกูล ว. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(5), 21–35. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3045
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร บุญธรรม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของหัวหน้าสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2562). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชียุคดิจิทัล กรมพัฒน์ฯ เร่งเสริมแกร่งผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีรับการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก: https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469414025.

ชลิดา ลิ้นจี่ กนกมณี หอมแก้ว และสุภาพร บุญเอี่ยม. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชี

สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(1), 34-45.

ณฐภัทร หงส์พงษ์ และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2560). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7, หน้า 788. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). รายชื่อบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปี 2561. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.set.or.th/th/about/annual/files/annual_report_2561_thai_full.pdf

ปรียากร ปริโยทัย และสุภัทรษร ทวีจันทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. Journal of Ratchathani Innovation Social Sciences, 1(2), 8–20.

ลักษณ์มนล์ สุวรรณแสน. (2561). ทักษะวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีการประปานครหลวง. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิทยบริการ วิชาเอกการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรัชนุช บุญวุฒิ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 169–171.

สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. (2554). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร: เพื่อสร้างและรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโลกบอลไลเซชั่น. กรุงเทพฯ: ซีวีแอลการพิมพ์.

สุภชัย ปกป้อง. (2560). มาตรฐานบัญชียุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2563, จาก https://www.kaohoon.com/content/196088

สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

อรณี ศรีคำมุล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพการบัญชีอย่างต่อเนื่องกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Aaker, D.A., Kumar, V., & Day, G.S. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York: John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making. 4th ed. New York: John Wiley and Son.

Chartered Global Management Accountant. (2019). CGMA Competency Framework 2019 Edition. Retrieved April 6, 2020, from https://www.cgma.org/resources /tools/cgma-competency-framework.html.

Darwanis, D., Saputra, M., & Kartini, K. (2016). Effect of Professionalism, Competence, Knowledge of Financial Management, and Intensity Guidance Apparatus Inspectorate for Quality of Financial Statements (Study on Inspectorate Regencies/Cities in Aceh). Broad Research in Accounting Negotiation, and Distribution, 7(1), 28-36.

Fouche, J. P., & Kgapola, M. P. (2016). Professional Accountants’ Perspective of

Skills Required to Progress to Management Positions. International Journal of Business and Management Studies, 8(1), 20–36.

Hair, J.F., Black, W.C., & Erson, R.E. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearson.

Tan, L. M., & Laswad, F. (2018). Professional Skills Required of Accountants: What

do Job Advertisements Tell Us?. Accounting Education, 27(4), 403-432.