ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ประเภทการขึ้นทะเบียน อ.18 ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จักรพันธ์ ใจเจตน์สุข
สายพิณ ปั้นทอง
วิรัตน์ เตชะนิรัติศัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารและศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ประเภทการขึ้นทะเบียน อ.18 ในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยแบบการสำรวจผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลทางแบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่างจากผู้ที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารและการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการจำนวน 6 ท่าน เพื่อตรวจสอบและยืนยันผลการวิจัยที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ การทดสอบสมมติฐานใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ผลทางสถิติ คือ ไคสแควร์ (Chi-square) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ประเภทการขึ้นทะเบียน อ.18 ในกรุงเทพมหานคร ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาและด้านการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการตลาดโดยการบอกต่อ และด้านการจัดกิจกรรมและสร้างเสริมประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพื่อยืนยันผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ในด้านตราสินค้าและคุณภาพของสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ด้านราคาลูกค้าตัดสินใจซื้อจากความคุ้มค่าของราคา ด้านการจัดจำหน่ายที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ด้านการส่งเสริมการขายเป็นการกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้าให้เร็วขึ้น ด้านการตลาดโดยการบอกต่อทั้งตัวสินค้ารวมถึงผู้แนะนำและด้านการจัดกิจกรรมและสร้างเสริมประสบการณ์โดยใช้การประชุมออนไลน์เป็นเครื่องมือทางการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2532). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก 2532 ฉบับที่ 121. กรุงเทพมหานคร: กระทรางสาธารณสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

ภัทรา รอดดำรงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงามคอลลาเจนผ่านทางเฟชบุ๊ค. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(2), 104 – 118.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing Management). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ศิวนันท์ พุทธะไชยทัศน์. (2556). การศึกษาประสิทธิผลการลดน้ำหนักด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารในผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ศูนย์สารสนเทศกรุงเทพมหานคร. (2563). เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก http://203.155.220.230/m.info

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). สถานการณ์NCDs ห่วงคนไทยออกกำลังกาย น้อยเสี่ยงเจ็บป่วย. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560 (น. 2). กรุงเทพมหานคร: กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุภาพร ชุมทอง. (2553). อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสมองและความจำประเภทเครื่องดื่มของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 1(1), 63 – 73.

อรรถสิทธิ์ สกลคณาพงษ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีน ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, หน้า 1169 – 1176. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

อลิสรา รุ่งนนทรัตน์ ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ : ต่อให้ติดใกล้ชิดผู้บริโภคในโลกไร้รอยต่อ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Worawatcharakarn, T. (2018). Marketing Mix Affecting the Decision of Consuming Clean Food in Bangkok. In The 2nd Regional Conference on Graduate Research 2018, pp 197 - 208. Bangkok: Sripatum University