การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกต้นหอม: กรณีศึกษาสวนสุราชวงศ์ หมู่บ้านดงทรายทอง หมู่15 ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วราภรณ์ เรืองสิทธิ์
โอปอ ไชยสวัสดิ์
นริศรา สายธนู
อรอนงค์ ทานานอก
กนกกานดา ใต้จันทร์กอง
รชต สวนสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกต้นหอมสวนสุราชวงศ์ ในหมู่บ้านดงทรายทอง หมู่15 ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทำการเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เจ้าของสวนสุราชวงศ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อไร่ มีค่าเท่ากับ 36,832.51 บาทต่อเดือน ซึ่งแบ่งเป็น วัตถุดิบ 25,500 บาท ค่าแรงงาน 820 บาท ต้นทุนผันแปร 1,268 บาท และต้นทุนคงที่ 9,244.51 บาท รายได้เฉลี่ย 90,000 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 53,167.49 บาทต่อไร่ โดยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนโดยเฉลี่ยต่อไร่ มีค่าเท่ากับ 667 กิโลกรัมต่อไร่ อัตรากำไรต่อยอดขาย ร้อยละ 59.07 และมีผลตอบแทนจากการลงทุน ร้อยละ 3.11 ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้ทำให้ทราบต้นทุนและผลตอบแทนที่แท้จริงสำหรับการปลูกหอม ในการเป็นข้อมูลทางบัญชีเพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้ให้กับทางผู้ผลิต และเป็นการสร้างงานในชุมชนให้มากขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
เรืองสิทธิ์ ว., ไชยสวัสดิ์ โ., สายธนู น., ทานานอก อ., ใต้จันทร์กอง ก., & สวนสวัสดิ์ ร. (2021). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกต้นหอม: กรณีศึกษาสวนสุราชวงศ์ หมู่บ้านดงทรายทอง หมู่15 ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(5), 93–103. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3050
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2562). การผลิตหอมแบ่ง. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.doa.go.th/hort/wpcontent/uploads/2019

ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล. (2559). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกกระเพราและโหระพา: การเปรียบเทียบระหว่างการปลูกแบบปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและการปลูกแบบทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/view/335

พิชยพิมพ์ คำเพียร. (2563). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกแมคคาเดเมีย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(4), 77-87.

วนัสนันท์ งวดชัย และคณะ. (2562). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกหอมแดง. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/download/232566/158961/.

วาสนา ศรีพันธบุตร. (2562). แผนพัฒนาการเกษตร ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก https://www.opsmoac.go.th/udonthani-dwl-files-421991791947

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี.(2561). แผนแม่บทเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรี. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://mueang.udonthani.doae.go.th

อุดรทูเดย์. (2562). แหล่งปลูกต้นหอม หรือหอมแบ่ง ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ต.หนองไฮ อ.เมือง อุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก https://udontoday.co/190762