การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ ข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เจตน์สฤษฎิ์ วินัยธรรม
ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) ศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรเป็นข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 14,375 คน คำนวณหากลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.92 แล้วไปทำการทดลองใช้เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยรวมเท่ากับ 0.963 สถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอยู่ในระดับมาก การรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ แบบมุ่งผลสำเร็จ และแบบราชการ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร พันธ์เทศ และ ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2562). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 53-65.

ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปการศึกษา 2552, หน้า 116-117. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุศรารัตน์ บัวงาม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วริษฐา กองทรัพย์ ทิพทินนา สมุทรานนท์ และ รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2561). วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชันวายของธนาคารแห่งหนึ่ง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(19), 171-187.

Chaikidurajai, P. (2017). The Impact of Compensation on Organizational Citizenship Behavior (OCB) of Employees in Electrical, Electronics and Telecommunications Industry Group in Thailand. International Journal of Management, Business, and Economics, 4(3), 67-79.

Chaikidurajai, P. (2017). The Impact of Human Resource Practices on Organizational Citizenship Behavior (OCB) of Employees in Electrical, Electronics and Telecommunications Industry Group in Thailand. International Journal of Management, Business, and Economics, 4(1), 111-123.

Chaikidurajai, P. (2015). Factors Affecting Organizational Citizenship Behavior (OCB) and Performance Efficiency of Staff in Industry Group. International Journal of Management, Business, and Economics, 2(3), 111-129.

Daft, R. L. (2001). Essentials of Organization: Theory and Design. Ohio: South-Western College.

Organ. (1987). Organizational Citizenship Behavior: The Good Soldier Syndrome. Massachusetts: Lexinton.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: Haper International Edition.