การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

โชคชัย เดชรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลและวิธีเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในจังหวัดอุดรธานี 2) ความรู้เพื่อความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการวิจัยแบบผสม(Mixed Method) ประกอบ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2562 จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structure) จำนวน 10 คน ผลวิจัยพบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรสตามกฎหมาย คำนวณภาษีสิ้นปีโดยแยกคำนวณระหว่างสามีภรรยา ยื่นแบบรายการชำระภาษีสิ้นปีทางอินเทอร์เน็ต มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยเฉลี่ยระดับปานกลาง ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านภาษีอากร มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาชีพมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ปัจจัยวิธีเสียภาษี ได้แก่ แบบรายการชำระภาษีสิ้นปี การคำนวณภาษีสิ้นปี การใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามความสมัครใจ การเสียภาษีตามถูกหัก ณ ที่จ่าย สถานที่ยื่นแบบรายการชำระภาษีสิ้นปี มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระยะเวลายื่นแบบรายการชำระภาษีสิ้นปี มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับสูงคือผู้ที่ได้รับการอบรมจากหน่วยงาน ผู้เป็นเจ้าของกิจการประเภทค้าขายและให้ บริการมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง. (2560). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 35 ก. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กุสุมา ดำรงชัย และกุหลาบ ปุริสาร. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชน ในตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 124-132.

จิตติมา ยิ้มกระยารส. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโครงสร้างภาษีใหม่ ปี 2560 ของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการวิทยาลัยนครราชสีมา, 1(12), 205-214.

ธนิดา จิตรน้อมรัตน์. (2559). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องทำอย่างไร.วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 14-26.

ธัญญ์วรัตน์ อรรถวิทย์.(2558). ปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่18). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 124ก. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

ฟ้ารฬิณณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขต อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย. (2557). การวางแผนการเงินส่วนบุคคล. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก www.tfpa.or.th.

สายสมร สังข์เมฆ. (2553). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สิริมา บูรณ์กุศลธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก และอัจฉรา ชินนิยมพาณิชย์. (2563). ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. ในรายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่5, หน้า 252-262. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

อนันทิตรา ดอนบันเทา. (2560). ปัญหาและสาเหตุการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในตำบลลานดอกไม้ตก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรครั้งที่ 4, หน้า 614-620, กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Bloom, S. B.,et al. (1971). Taxnomy of Education objectives. New York: DevidMckay Company.

Yamame, T. (1967). Statistics: An introductory Analysis. New York: Harper & Row.