การพัฒนาการจัดทำบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินชุมชนบ้านห้วยศาลาใต้ ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิพย์สุดา ทาสีดำ
ผกามาศ บุตสาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของระบบบัญชี และพัฒนารูปแบบระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินชุมชนบ้านห้วยศาลาใต้ ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจาก คณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชนบ้านห้วยศาลาใต้ ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งสิ้น 10 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1. การดำเนินงานมีปัญหาเกี่ยวกับระบบบัญชีของสถาบันการเงินชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเอกสารทางการบัญชี พบว่า เอกสารดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินชุมชนจำเป็นต้องมีแบบฟอร์มเอกสารอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 2) ด้านวิธีปฏิบัติงาน พบว่า การลงบัญชีนั้นยังคงเป็นการบันทึกด้วย สมุดตีเส้นรายรับ-รายจ่ายทั่วไปและบันทึกแบบระบบบัญชีเดียว ไม่มีการจัดทำรายงานทางการเงินมีเพียงการแสดงยอดเงินคงเหลือในสมุดรายวันทั่วไป 3) ด้านผู้ปฏิบัติงาน พบว่า คณะกรรมการไม่มี ความรู้ความเข้าใจเพียงพอเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี และ 4) ด้านเครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ พบว่า สถาบันการเงินชุมชนยังขาดทักษะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี 2. มีการพัฒนาระบบบัญชีที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ด้านการบันทึกบัญชี 2) ด้านการใช้โปรแกรม และ 3) ด้านรายงานทางการเงินแก่คณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชน 3. รูปแบบระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินชุมชน พบว่า การพัฒนาในส่วนของการจัดตั้งฝ่ายการเงินขึ้นมาอย่างเป็นทางการและการเพิ่มเอกสารต่าง ๆ ในแต่ละฝ่าย ฝ่ายการเงินมีเอกสารใบสำคัญรับเงินและใบสำคัญจ่ายเงิน ฝ่ายสินเชื่อ มีทะเบียนคุมยอดลูกหนี้เงินกู้ และฝ่ายบัญชี มีทะเบียนคุมยอดเงินฝาก บัญชีแยกประเภท และงบการเงิน จึงสามารถจัดรูปแบบระบบบัญชีที่เหมาะสม เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นใน ด้านการกู้ยืม ด้านการรักษาเงินสดย่อย และมีการควบคุมภายในที่ดีสามารถตรวจสอบการดำเนินงาน สถาบันการเงินชุมชนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ทาสีดำ ท., & บุตสาลี ผ. (2021). การพัฒนาการจัดทำบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินชุมชนบ้านห้วยศาลาใต้ ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(3), 1–9. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3098 (Original work published 25 มีนาคม 2024)
บท
บทความวิจัย

References

เกศชฎา ธงประชา และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีตามหลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาวิสาหกจิชุมชนของกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ดวงเดือน เภตรา และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินกองทุนหมู่บ้านท่าม่วง หมู่ที่ 4 : กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านท่าม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์. (2558). ระบบบัญชีการเงินของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านชุมชนปิ่นดำริห์ อำเภอเมือง จังหวัดกาแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ 2015 : วิจัย เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน”, เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นภาพร เคลื่อนเพชร. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บันเฉย ศรีแก้วและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ :กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 22(2), 121-130.

ผกามาศ มูลวันดี และคณะ. (2559). การศึกษาระบบบัญชีชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนศิลา ตําบลถลุงเหล็ก อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(พิเศษ 2559), 14-20.

รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ, ณรงค์ พิมสาร, และ ณัฐพล ชุมวรฐายี(2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 106-116.

วิจิตรรัตน์ บุญทอง. (2559). ระบบบัญชีและการควบคุมภายในของกองทุนหมู่บ้าน : กรณีศึกษาอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ไอลัดดา โอ่งกลาวง. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.