การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตนักศึกษาโดยประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม : กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมและตัวผลักดันต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตนักศึกษา เพื่อคำนวณต้นทุนการผลิตนักศึกษา โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-based Costing : ABC) ในการคํานวณต้นทุนรายหลักสูตร และต้นทุนต่อหัวนักศึกษารายปี เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษา โดยคํานวณหาต้นทุนการผลิตนักศึกษาต่อคนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นกลาง (ปวช.) จํานวน 996 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จํานวน 836 คน รวมทั้งสิ้น 1,802 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหาร บุคลากรสายสนับสนุนและบุคลากรสายผู้สอนที่เกี่ยวทราบเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กรและทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในปีงบประมาณ 2562 จากเอกสารรายรับรายจ่ายเงินงบประมาณทั้งจากงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เพื่อบรรยายลักษณะของข้อมูลต้นทุนการผลิตนักศึกษาแต่ละหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่าการคำนวณต้นการผลิตนักศึกษาทุนตลอดทั้งหลักสูตร (ระยะเวลา 2 ปี) ของระดับปวช. มีจำนวน 18,944.32 บาท โดยแบ่งเป็นของสาขาการบัญชีซึ่งมีต้นทุนสูงสุด (ในระดับปวช.) มีต้นทุนตลอดหลักสูตร 7,056.05 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 3,528.03 บาท/ปี และสาขาเลขานุการมีจำนวนต้นทุนตลอดหลักสูตร 11,888.27 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 5,944.14 บาท/ปี ส่วนหลักสูตรในระดับปวส. ต้นทุนตลอดทั้งหลักสูตรของระดับปวส. (ระยะเวลา 3 ปี) จำนวน 47,183.97 บาท โดยแบ่งเป็นของสาขาโลจิสติกส์มีต้นทุนตลอดหลักสูตร 15,519.41 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 5,173.14 บาท/ปี สาขาการค้าระหว่างประเทศมีต้นทุนตลอดหลักสูตร จำนวน 12,163.13 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 4,054.37 บาท/ปี สาขาการตลาดมีต้นทุนตลอดหลักสูตร 11,916.85 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 3,972.28 บาท/ปี และสาขาการจัดการสำนักงานมีต้นทุนตลอดหลักสูตร จำนวน 7,584.58 บาท มีต้นทุนต่อหัวนักศึกษา 2,528.19 บาท/ปี เรียงตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2562). คำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการฉบับเลขที่ 309/สสก เกี่ยวกับการประหยัดรายจ่ายงบประมาณแห่งรัฐของแผนการศึกษาธิการและกีฬา. กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.
เจนจิรา ทีปุ้ง. (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรมหาบัณฑิต คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงมณี โกมารทัต. (2559). การบัญชีต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
บงกช อนังคพันธ์. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนผลิตนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ. วารสารคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยนราธิวาสราช-นครินทร์, 1(3), 33-45.
ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การศึกษาการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9(1), 137-138.
แผนงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก. (2560). บทสรุปและแผนการดำเนินงานประจำ วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก (2559-2561). วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก.
ลัดดาภรณ์ อินตาหามแห. (2557). ต้นทุนฐานกิจกรรมหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก. (2562). บทสรุปผลการจัดตั้งปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2560-2561 และแผนการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2560-2561. วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก.
ศศิวิมล มีอำพล. (2560). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
สนธิญา สุวรรณราช. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในสถานศึกษาเอกชน กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2560). การประหยัดลายจ่ายงบประมาณของรัฐ ฉบับเลขที่ 09/มิ.ย.ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2017. สำนักงานนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมแห่งชาติ 5 ปี ครั้งที่ 8 (2016-2020) ผ่านกองประชุมครั้งประถมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดที่ 8. นครหลวงเวียงจันทน์ กระทรวงแผนการและการลงทุน.
อัจฉรา กลิ่นจันทร์. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 13(1), 72-77.
อุมาพร เกยเลื่อน. (2555). ต้นแบบการคำนวณต้นทุนการศึกษาโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมใน สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน กรณีศึกษาโรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจเทคโนโลยี จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.