อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการ ผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้า บริษัท เอช เซม มอเตอร์ จำกัด (เครือฮั้วเฮงหลี กรุ๊ป)

Main Article Content

ปิยะวัลย์ ใยบัว
วสุธิดา นุริตมนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการและการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้า และ 2) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้า บริษัท เอช เซม มอเตอร์ จำกัด (เครือฮั้วเฮงหลี กรุ๊ป) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการรถพลังงานไฟฟ้าของ บริษัท เอช เซม มอเตอร์ จำกัด (เครือฮั้วเฮงหลี กรุ๊ป) จำนวน 220 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์อิทธิพลของการคุณภาพการบริการโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้ามีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ ด้านการเอาใจใส่ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการให้ความมั่นใจอยู่ในระดับพอใจอย่างยิ่ง ด้านการตอบสนองและด้านสิ่งที่สัมผัสได้อยู่ในระดับค่อนข้างพึงพอใจ และการบอกต่อแบบปากต่อปากอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนอิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้า พบว่า ด้านการตอบสนอง ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ส่งผลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ใยบัว ป., & นุริตมนต์ ว. (2021). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการ ผลิตภัณฑ์รถพลังงานไฟฟ้า บริษัท เอช เซม มอเตอร์ จำกัด (เครือฮั้วเฮงหลี กรุ๊ป). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(3), 51–56. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3102
บท
บทความวิจัย

References

กรกนก ชุบแวงวาปี. (2557). อิทธิพลความเป็นเลิศของคุณภาพบริการที่มีต่อความไว้วางใจในการใช้บริการและการบอกต่อของผู้ใช้บริการบางจาก กรีนวอช เดอะพรีเมี่ยม (สาขาวิภาวดีรังสิต-หลักสี่). Veridian E - Journal, 7(2), 48-60.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณะ ดาราเรือง, สิทธิพร เขาอุ่น, และ เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2561). การรับรู้คุณภาพการให้บริการ และส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ โรงแรมในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12 (ฉบับพิเศษเดือนพฤษภาคม 2561), 57-70.

ไชยชนะ จันทรอารีย์. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจการบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 25-40.

ณรงค์ คุ้นวานิช. (2560). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ การได้รับคุณค่าเชิงประสบการณ์จากพนักงานขายและการลดความเสี่ยงโดยพนักงานขายที่มีต่อความภักดีของลูกค้าร้านขายยาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(2), 108-123.

ณัชพงษ์ พยุงวงษ์. (2559). คุณภาพการบริการและการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่มีผลต่อความภักดีของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนทนาพรวิทยา. งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐิกานต์ อดิศัยรัตนกุล. (2560). ความภักดีของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์และบริการอินเทอร์เน็ต ประเภทFTTx ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขาสุราษฎร์ธานี. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(3), 72-82.

ธนกฤต ตปนีย์. (2561). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจการบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่สาธารณะ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 101-120.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). การกำหนดนโยบายสถาบันการเงิน. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/FIPolicy/Pages/default.aspx

นุชนาถ บัวสุดตา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบริการกับความภักดีของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยของรัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(1), 1-8.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2561). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2555). การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 43-60.

พชร เกษโกศล. (2561). อิทธิพลของคุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการ โรงแรมและรีสอร์ท ในเขตพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 102-114.

เพ็ญภิษา สถิตธีรานนท์. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการ ธนาคารกรุงไทย สาขาสำนักนานาเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนะ พุทธรักษา. (2560). คุณภาพการบริการด้านการนำจ่ายที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรณีศึกษาที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 124-134.

รัถยา สุขสวัสดิ์. (2556). การวัดคุณภาพการบริการและความภักดีต่อบริการของธุรกิจเสริมในสถานีบริการน้ำมัน. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 51, หน้า 330-336. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วสุธิดา นุริตมนต์. (2562). อิทธิพลของคุณภาพบริการและการบริหารความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ: การศึกษาเชิงประจักษ์ ลูกค้าที่ใช้บริการโรงแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(105), 175-186.

ศิมาภรณ์ สิทธิชัย. (2560). คุณภาพบริการของธุรกิจโรงแรมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 182-203.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2559). ข้อมูลพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562,จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (2013). A Conceptual Model of ServiceQuality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing. 49(4), 41-50.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.