ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1

Main Article Content

จินตนา สุริยะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว 3)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยว และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวที่มีต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการท่องเที่ยวช่วงวันหยุด 1 วัน (ไป-กลับ) 3) นักท่องเที่ยวที่มีอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 4) ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว มีอำนาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์การท่องเที่ยวได้ดีที่สุดคือ ด้านการให้บริการ(0.238) ด้านสถานที่(0.208) ด้านสินค้าและบริการ(0.190) และด้านกิจกรรมที่จัดให้บริการ(0.113) ตามลำดับ โดยร่วมกันอธิบายความผันแปรของอุปสงค์การท่องเที่ยวได้ร้อยละ 62.7

Article Details

How to Cite
สุริยะศรี จ. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(3), 67–83. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3103
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานประจำปี ททท.2561 หน้า 36. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2543). จิตวิทยาการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนินทร์ เก่งกล้าและธิติ มีปลื้ม. (2555). ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อสถานที่

ท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดลใจ มณีงาม. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้มาเที่ยวที่มีต่อการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาควิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นิดา บัวงาม และคนอื่นๆ. (2546). การศึกษาการจัดการท่องเที่ยวตลาดนาวัดลาพญา อ.บางเลน จ.นครปฐม. สำนักวิทยาบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ประกิจ ลอยเลิศฤทธิ์ และรานนท์ ทวีผล. (2560). การประเมินศักยภาพขององค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษา:พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เลขหน้า : 497-504.

ปราโมทย์ เลิศจิตรการุณ. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.(การจัดการนันทนาการ). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผกามาศ ชัยรัตน์ และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 หน้า 124-142

พระครูสมุทรวีราภรณ์ มหานาค. (2552). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2557. หน้า 63-82.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใชสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. ค้นคว้าเมื่อ 22 กันยายน 2562. จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/36180.aspx

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี. (2561). คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงกลุ่ม จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 : อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ . วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี. สำนักงาน.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด. (2560). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 5ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). อุดรธานี : สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1

เอกสารประกอบการประชุมคณะรัฐมนตรี (2562.) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จาก http://www.osmnortheast-n1.moi.go.th/ud/images/stories/plan/banyay.pdf ค้นคว้าเมื่อ 1 ก.ย.2562.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.