การเปรียบเทียบประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลต่อทุนทางปัญญาของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พรลักษมิ์ พลเดช
กุลชญา แว่นแก้ว
รัชนียา บังเมฆ
ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลต่อทุนทางปัญญาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปีพ.ศ. 2558-2560 จำนวนทั้งสิ้น 879 ตัวอย่าง ใช้สถิตเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ONE-WAY ANOVA) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีระดับทุนทางปัญญาแตกต่างกันโดยรวม อุตสาหกรรมทรัพยากรมีทุนทางปัญญาสูงสุดรองลงมาได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีทุนกายภาพสูงสุดรองลงมาคือกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมทรัพยากรมีทุนมนุษย์สูงสุดรองลงมาคืออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทุนมนุษย์ และ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคมีทุนโครงสร้างสูงสุดรองลงมาคืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group). สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2563, จาก www.set.or.th.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2546). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อาภรณ์ แกล้วทนงค์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยทุนทางปัญญากับคุณภาพกำไรและมูลค่าราคาตามตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(102), 98-115.

Barney, J. B. (2001). Resource-based theories of competitive advantage: A ten-year retrospective on the resource-based view. Journal of management, 27(6), 643-650.

Bontis, N. (2001). Assessing Knowledge Assets: A Review of the Models Used to Measure Intellectual Capital. International Journal of Management Reviews, 3(1), 41-60.

Chen, M.C., S.J. Cheng, Y. Hwang. (2005). An empirical investigation of the relationship between intellectual capital and firms’ market value and financial performance. Journal of Intellectual Capital, 6(2), 159-176.

Clarke, M., Seng, D., & Whiting, R. H. (2011). Intellectual capital and firm performance in Australia. Journal of intellectual capital, 12(4), 505-529.

Edvinsson, L. & Malone, M. S. (1997). Intellectual capital: realizing your company's true value by finding its hidden brainpower.

Herholdt. (2004). South African Journal of Childhood Education 4(1), 42-60.

Jian Xu and Jingsuo Li. (2019). The impact of intellectual capital on SMEs’ performance in China Empirical evidence from non-high-tech vs. high-tech SMEs. Journal of Intellectual Capital, 20(4), 488-509.

Kianto, A.,Hurmelinna-Laukkanen, P.and Ritala, P. (2010). Intellectual capital in service and product oriented companies, Journal of Intellectual Capital, 11(3), 305-325.

Pulic A. (1998). Measuring the Performance of Intellectual Potential in Knowledge Economy. National University.

Theodore W. Schultz. (1971). The Role of Education and of Research. New York: Free Press.