การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วมกรณีศึกษา หมู่บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง และเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปพร้อมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยศึกษาจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในชุมชน จำนวน 300 คนและใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชนจำนวน 3 คน โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ผลสรุปการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความสามัคคีและมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับมาก ในด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมในการประสานงานในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะในการศึกษาระยะถัดไป ควรที่จะศึกษาในรูปแบบการระดมความคิดเห็นร่วมกันของทุกฝ่ายที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการในท้องถิ่น นักวิจัย รวมไปถึงเอกชนที่จะได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อร่วมกันศึกษาการกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชน และแนวทางการกำหนดรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนใกล้เคียงเพื่อเชื่อมโยงให้ครอบคลุม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.
การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน. (2554). โครงการวิถีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเครือข่ายองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562, จาก http://www.oknation.net//blog/SIAM1932/2011/03/27/entry-2.
การท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง. (2562). ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก http://www.lampang.go.th./travel/data/placetour/maetha.htm.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
บุญเรือน เฒ่าคำ. (2562, 9 กันยายน). ผู้ใหญ่บ้าน. หมู่ที่ 6 บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซด์จำกัด.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์.
สำนักงานเทศบาลตำบลหัวเสือ. (2562). ข้อมูลทั่วไป หมู่ที่ 6 บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก http://www.huasuea.go.th/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1.
อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Buhalis, D. (2000). Strategic use of information technologies in the tourism industry. Tourism Management. Essex: Pearson Education.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural development participation: concept and measure for project design implementation and evaluation: rural development committee center for international studies. New York: Cornell University Press.
Fornaroff, A. (1980). Community involvement in health system for primary health care. Geneva: World Health Organization.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. reading in attitude, theory, and measurement. New York: Wiley & Son.
Ralf, B. (1995). Director, International centre for ecotourism research. Gold Coast, Australia: Griffith University.
Sheikh, S.A. (2010). Impact of Tourism in Cox’s Bazar, Bangladesh. (Abstract). Master in Public Policy and Governance Program Department of General and Continuing Education North South University, Bangladesh.
Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row.