ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจกับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ ใจปานแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) ศึกษาความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจกับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ระบบการตลาด ระบบลูกค้า ระบบเทคโนโลยี ระบบการเงิน และระบบบุคลากร ปัจจัยภายนอก การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ตัวแปรตาม คือ ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงของกิจการ ด้านการยอมรับนับถือและด้านการมีชื่อเสียง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจมีความสำคัญต่อความสำเร็จของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ในระดับมาก 2) ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ระบบการตลาด ระบบลูกค้า ระบบเทคโนโลยี ระบบการเงิน และระบบบุคลากร ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรมและเทคโนโลยี พบว่ามีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rxy = .634**) ข้อเสนอแนะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดอุดรธานี ต่อการดำเนินงานธุรกิจ มีความต้องการที่จะให้ภาครัฐ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนใน ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาฝีมือ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมของท้องตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัดอุดรธานี,สำนักงาน. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดจังหวัดอุดรธานี (พ.ศ. 2561-2564). สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563, จาก www.udonthani.go.th

โกวิทย์ ตันฑ์มานะธรรม. (2556). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจ ตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

จิราพรรณ สกุลลิ้ม. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งของผู้ประกอบการในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 3(3), 28-35.

จุฑามาศ จิตติถาวร และคณะ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วารสาร Asian Social Science. 7(5), 180–190.

ชุติมา หวังเบ็ญหมัด และ ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2557). ปัจจัยแห่งความสําเร็จของการประกอบการธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1(1). 109-123.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). การเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกสซิพ จำกัด.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPPS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: หจก.สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดีล.

นฤมล พึ่งทอง. (2557). ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จากประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสานส์.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ท้อป.

มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง. (2559). โครงการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและโครงสร้าง SMEs ตามระยะการเติบโตทางธุรกิจ ภายใต้งานจัดทาแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประจำปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

ยุพาวดี สมบูรณกุล. (2556). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการนาเทคโนโลยี ประเภทอุตสาหกรรมสารสนเทศมาสนับสนุนระบบการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมในภาคใต้. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุ่งนภา ต่ออุดม. (2556). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเกษตรภาคการค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา. การศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล. (2557). การสร้างเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจSMEs. วารสารนักบริหาร, 34(2), 37-45.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว). (2562). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2554-2555. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563, จาก www.sme.go.th.

Sammut - Bonnici, T. & Galea, D. (2015). PEST Analysis. Malta : University of Malta.