ความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำแนกตามสถานภาพ อายุ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ ประกอบด้วย คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 80 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจำหน่ายพัสดุ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.24) 2) บุคลากรที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของคณะวิทยาการจัดการในภาพรวมด้านการจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุ และการบำรุงรักษาพัสดุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัญญารัตน์ ประทุม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
จรัสศรี ดิษฐสอน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้บริการงานพัสดุ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(3), 148-162.
จิราภรณ์ วังสตัง. (2554). ความพึงพอใจและแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล ไชยราช. (2559). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานพัสดุโรงเรียนวัดคลองชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปุญญ์ชนม์ พัทธ์ฐิติโชติ. (2556). ความพึงพอใจของบุคลากรและแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. งานนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2563). ระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รายงานข้อมูลบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563, จาก https://portal7.udru.ac.th/webhmr/
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2561). การจำหน่ายพัสดุ. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.snamcn.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=62976
สาวิตรี พิชญชัย และ ณัชชา พวงสมบัติ. (2559). การใช้บริการงานพัสดุของบุคลากรในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 41-55.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.