การวิเคราะห์องค์ประกอบ: ปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษาบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม
จักเรศ เมตตะธำรงค์
ดวงฤดี อู๋

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษาบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ผ่านการเรียนรายวิชาวิจัย หรือกำลังเรียนรายวิชาวิจัยจำนวน 635 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ผลจากการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า องค์ประกอบปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษาบริหารธุรกิจระดับ ปริญญาตรีของ มทร.อีสาน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยการกำหนดประเด็นในการทำวิจัย ปัจจัยด้านการดำนินงานวิจัย และปัจจัยเกื้อหนุนในการทำวิจัย และผลจากการใช้โปรแกรม Mplus ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทั้ง CFA with Continuous Factor Indicators และ Second-Order Factor Analysis ยืนยันใน 3 องค์ประกอบ เช่นกัน โดยระยะเวลาในการทำวิจัย ถือเป็นปัญหาในการทำวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือการวิเคราะห์ปัญหาที่ควรนำมาเป็นหัวข้อวิจัย และการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เบ้าธรรม ส., เมตตะธำรงค์ จ., & อู๋ ด. (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบ: ปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษาบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6), 15–31. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3188
บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม ตำบลนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(1), 126-156.

ช่อชะบา ชื่นบาน. (2555). ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

เทวราช สาระคำ. (2559). ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

ธนยศ กุลฑล, ปิยะพร อิสสรารักษ์, และฉลองชัย ธีวสุทรสกุล. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ธีรดา ภิญโญ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10 (พิเศษ), 252-304.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2544). การวิเคราะห์งานวิจัยสถาบันเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มณฑา วิชัยวุฒิ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

วนิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ดีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สมจิตร์ แก้วมณี. (2551). ปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 133-158.

ศศิธร ศรีจันทะ. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ.

ศศิวิมล ว่องวิไล, ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ และมาธุสร แข็งขัน. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. Southeast Bangkok Journal, 5(2), 77-93.

Burns, N & Grove, S.K. (1993). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique, & Utilization (4th ed.). Philadephia: W.B. Sauders Company.

Goffin, R. D. (2007). Assessing the Adequacy of Structural Equation Model: Golden Rules and Editorial Policy. Personality and Individual Differences, 42: 831-839.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). In Global (ed). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. New Jersey: Pearson.

Kelloway, E.K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1-55.

Steiger, J. H., (2007). Understanding the Limitation of Global Fit Assessment in Structural Equation Modeling. Personality and Individual Differences, 42, 893-898.

Stevens, J. (1996). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences (2nd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Walz, C. F., Stricklan, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in Nursing and Health Research (4th ed). New York: Springer.