ความภักดีของลูกค้าธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามส่วนประสมการตลาด

Main Article Content

ณัฐกานต์ รุ่งเรือง
โชติกา นาคประสูตร
ธีระพล คุณบุราณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการจำแนกประเภทความภักดีของลูกค้า และสร้างสมการจำแนกประเภทความภักดีของลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประชากร คือ ลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 โรงแรม ในช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมรวยสุข โรงแรมรวยสุขแอนด์สวิมมิ้งพูล จำนวน 266 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยอาศัยสูตรการกำหนดขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยประชากร สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.244 - 0.648 มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.879 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการจำแนกประเภทความภักดีของลูกค้าได้มากที่สุด คือ ลักษณะทางกายภาพ โดยมีสัมประสิทธิ์น้ำหนักของการจำแนกมาตรฐานเท่ากับ 0.861 รองลงมา คือ ช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์และราคา ซึ่งมีสัมประสิทธิ์น้ำหนักของการจำแนกมาตรฐานเท่ากับ 0.721 -0.634 -0.543 ตามลำดับ สมการจำแนกประเภทความภักดีของลูกค้าด้วยส่วนประสมทางการตลาด สามารถจำแนกลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าที่ไม่ภักดี และกลุ่มลูกค้าที่ภักดี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยส่วนประสมทางการตลาดสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีได้ ร้อยละ 36.5 และมีความถูกต้องในการพยากรณ์ 81.20% โดยมีสมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z= -.634X1 - .543X2 + .721X3 + .092X4 - .141X5 - .079X6 + .861X7

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ณ., นาคประสูตร โ., & คุณบุราณ ธ. (2021). ความภักดีของลูกค้าธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามส่วนประสมการตลาด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6), 75–88. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3195
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=497กรุงเทพฯ:สถาบันTDRM

การะเกด แก้วมรกต. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรม ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). การจัดงานโมโตจีพี. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1392880

วริศรา วาริชวัฒนะ และกุลเชษฐ์ มงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกที่พักแรมใน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2).

ศิมาภรณ์ สิทธิชัย และสิญาธร ขุนอ่อน (2558). การวัดความภักดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจโรงแรม.วารสารนักบริหาร. 35(1), 64-74.

สิริทิพย์ ฉลอง. (2560). ธุรกิจโรงแรม. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคบริการ ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก การวิจัยธนาคารออมสิน.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2557). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำหนักพิมพ์ยงพลเทรดดิ้ง.

ศุภกฤต ปิติพัฒน์. (2561). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความเป็ยเมืองน่าอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1).

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brandname. New York, NY: The free press.

Dunn, D. (1997). Relationship marketing: A 35 minute primer. Frequency marketing Strategies, strategic research Institute. Omni Chicago: Chicago.

Ivanauskiene, N., & Auruskevicien, V. (2009). Loyalty programs challenges in retail banking industry. Economics & Management, 14, 407-412.

Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. Boston MA: Irwin/McGraw-Hill.

Skogland, I., & Siguaw, J. A. (2004). Are your satisfi ed customers loyal. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 45(3), 221-234

Shoemaker, S., & Lewis, R.C. (1999). Customer loyalty: The future of hospitality marketing. International Journal of Hospitality Management, 18(4), 345–370.

Srivastava, R. K., Shervani, T. A., & Fahey, L. (2000). Market-based assets and shareholder value: A framework for analysis. Journal of Marketing, 62(1), 2–18.

Tanforda, S., Raabb, C., & Kimb, Y. S. (2012). Determinants of customer loyalty and purchasing behavior for full-service and limited-service hotels. International Journal of Hospitality Management, 31, 319–328.