การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ ในหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

หทัยชนก วงค์บุญชา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลจากการวิจัย พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (gif.latex?x^{2} /df) มีค่าเท่ากับ 1.58 ที่ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.038 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) เท่ากับ 0.041

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ เทวกุล. (2555). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดาว สุ่มมาตร์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเลือกหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(2), 13-25.

บรรจง พลไชย. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะการสื่อสารและการนำเสนอ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 63-74

มนตรี สังข์ทอง, ประภาส กลับนวล, วรรณภรณ์ สุทนต์, อเนก พุทธิเดช และ จินดาพร คงเดช. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 67-79.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2563). สารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.udru.ac.th/website/

สาวิตรี สะอาดเทียน. (2562). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมวิทยา (การพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 4(1), 64-85.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558). การศึกษาสาเหตุการลาออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 1(1), 67-79.

สุวรรณา คุณดิลกณัฐวสา. (2563). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(1), 260-271.

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ และ เรมวล นันท์ศุภวัฒน์. (2556). ความพึงพอใจและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในกระบวนวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ มกราคม 2556), 47-60.

อรวรรณ ธนูศร. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Goffin, R. D. (2007). Assessing the adequacy of structural equation model: Golden rules and editorial policy. Personality and Individual Differences, 42(5), 831-839.

Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: Guilford.

Oliva, P. F. (2009). Developing the Curriculum. (7th ed.). Boston, MA: Allyn & Bacon.

Pang, K. (2010). Creating Stimulating Learning and Thinking Using New Models of Activity-Based Learning And Metacognitive-Based Activities. Journal of College Teaching & Learning , 7(4), 29-38.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G., (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.