การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กรรณวิษณ์ ช่วยอุปการ
ณภัทสุดา เปรมใจ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสูงสุด ผลจากการวิจัยนี้นำไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย และใช้ในการปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำผลการวิจัยมาสรุปร่วมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 286 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับ คือ ด้านสังคม ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ และด้านร่างกาย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายเป็นภาคีพัฒนา จำนวน 23 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า (1) ด้านสังคม ควรจัดกิจกรรมบุญประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่เชิงบูรณาการ ไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญตักบาตร สันทนาการ (2) ด้านจิตใจ ควรจัดอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาจิต ปรับปรุงที่พักอาศัย (3) ด้านเศรษฐกิจ ควรจัดตั้งกลุ่มอาชีพ อบรมตลาดออนไลน์ จัดถนนวัฒนธรรม แปรรูปพืชพื้นถิ่น เพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ และ (4) ด้านร่างกาย ควรออกเยี่ยมครัวเรือนให้คำปรึกษา แจ้งข่าวสารออนไลน์ อบรมโภชนาการและอาหารพื้นถิ่น ออกกำลังกาย และจัดอบรมบุคลากรเฉพาะทาง

Article Details

How to Cite
ช่วยอุปการ ก. ., & เปรมใจ ณ. . (2025). การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 59–69. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3305
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 3 มกราคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560-2565 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

กัญญา เกสรพิกุล, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ และ วรพล แวงนอก. (2564). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 181-196.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการ. ใน เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. คณะกรรมการวุฒิสภา สถาบันพระปกเกล้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระสินสมุทร มหาปญโณ (สินธุศิริ), พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโณ และโสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2563). การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 235-247.

รัฐวัชร์ พัมนจิระรุจน์. (2557). ทฤษฎีระบบ Systems Theory. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก http://poundtv5.blogspot.com.

อำพล โยธาธรรม. (2564, 13 มีนาคม). ประธานอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน. สัมภาษณ์.

Catissi, G., Gouveia, G., Savieto, R. M., Silva, C. P. R., Almeida, R. S., Borba, G. B., Rosario, K. A. & Leao, E. R. (2024). Nature-based interventions targeting elderly people's health and well-being: An evidence map. International Journal of Environmental Research and Public Health, 21(1), 112.

Kumar, P., Kumari, V., Singh, M. & Duhan, P. (2023). Psychological health problem of elderly: A sociological study. IAHRW International Journal of Social Sciences Review, 11(4), 58-561.

Maslow, A. H. (1954). Motivational and personality. New York: Harper and Brother.

Prati, G. (2023). Religion and well-being: What is the magnitude and the practical significance of the relationship? Psychology of Religion and Spirituality. Retrieved March 8, 2024, from https://www.proquest.com/scholarly-journals/religion-well-being-what-is-magnitude-practical/docview/2889398780/se-2.

Wang, B., Zhao, H., Shen, H., & Jiang, Y. (2023). Socioeconomic status and subjective well-being: The mediating role of class identity and social activities. PLoS ONE, 18(9), 1-19.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper.