การพัฒนาระบบแจ้งซ่อมเคเบิ้ลออนไลน์: กรณีศึกษา กองบิน 46
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแจ้งซ่อมปัญหาจากการใช้งานระบบเคเบิ้ลของกองบิน 46 ยังคงใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ และบันทึกการแจ้งลงในแบบฟอร์มกระดาษ ทำให้เกิดความล่าช้า การบันทึกข้อมูลมีความผิดพลาดและไม่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ย้อนหลังอย่างรวดเร็ว การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการแจ้งซ่อมเคเบิ้ลในรูปแบบออนไลน์ และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบของแผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กองเทคนิค กองบิน 46 โดยใช้ Bootstrap Framework ในการปรับแต่งหน้าจอของผู้ใช้งาน ใช้ Visual Studio Code เขียนโค้ดภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงในแผนก ได้แก่ หัวหน้า และเจ้าหน้าที่ช่าง ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.02, S.D.=0.814) โดยระบบใช้งานง่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ลดความผิดพลาด ลดเวลาในการทำงาน และทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานและแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เคเบิ้ลสื่อสารได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกองบินอื่น ๆ ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
จรัสชัย สิทธิศักดิ์, พรทิพย์ ใจแก้วทิ, ปริญญาพร สิงหเดช และธิดารัตน์ วุฒิศรีเสถียรกุล. (2566). การ พัฒนาระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อวางแผนการผลิต. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 32-45.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.
ประทีป เทพยศ และอภิรมย์ อังสุรัตน์. (2564). การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 8(2), 1-12.
เพียงนภา แจ้งเจนศิลป์ และชนนท์ ภูมิเทศ. (2561). ระบบแจ้งซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์). (โครงงาน). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
ภาณุพงศ์ มินทะนา และซเนตตี อินทรสิทธิ์. (2564). ระบบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารแม้โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัติกรรม. 7(1). 17-25.
มนัญญา ไชยทองศรี และปราโมทย์ กั่วเจริญ. (2559). การพัฒนาระบบจัดการสารสนเทศซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์. กรุงเทพฯ: สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มาโนช บทกระโทก. (1 กรกฎาคม 2565) . หัวหน้าหมวดศูนย์ข่าว ฝ่ายปฏิบัติการสื่อสาร แผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กองเทคนิค กองบิน 46. สัมภาษณ์.
รัตยากร ไทยพันธ์, วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง, ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน, วีระยุทธ สุดสมบูรณ์, ฉัตรชัย แก้วดี และธิดารัตน์ ทองเทียบ. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 71-85.
วริณศิญา พงษ์เกษ และวงกต ศรีอุไร. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคระบบแถวคอย ร่วมกับเทคนิคอิงกฎเกณฑ์ กรณีศึกษาโรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี, 5(2), 85-95.
สุริยา ภูศรี. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบแจ้งซ่อมบำรุงวัสดุ-ครุภัณฑ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุวิทย์ เมษอินทรี. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ ๔.๐. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf
อนุรักษ์ จักรวรรดิ์, วิโรจน์ ทองจืด และ อมฤตา ฤทธิภักดี. (2565). การพัฒนาระบบบริหารจัดการซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาหน่วยงานกองสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(2), 67-80.
DTC. (2559). โมเดลประเทศไทย 4.0 คืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.dtc.co.th/ความรู้โลจิสติกส์/โมเดลประเทศไทย-4-คืออะไร/