การวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา : กรณีศึกษา ฟาร์มยงยุทธ อินทสัง ตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา : กรณีศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนฟาร์มยงยุทธ ตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนการเลี้ยงไก่ไข่บ่นบ่อปลา 2) เพื่อศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา 3) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคการเลี้ยงไก่ไข่บ่นบ่อปลา และ 4) เพื่อวิเคราะห์ SWOT และTows Metrix ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เจ้าของฟาร์มยงยุทธ อินทสัง ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญคือนางเอมอร อินทสัง เจ้าของฟาร์ม ซึ่งมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลามา 25 ปี ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา 1 รอบการผลิต ประกอบไปด้วยเงินลงทุนเริ่มแรกจำนวน 255,800 บาท วัตถุดิบทางตรง 1,032,600 บาท ค่าแรงงานทางตรง 244,000 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิต 57,710.14 บาท ต้นทุนการผลิต 1,321,100.14 บาท ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร 75,480 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 319,419.86 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 1 รอบระยะเวลาการผลิต มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) 124.87% อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขาย 23.01% อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อยอดขายรวม 18.61% มีปัญหาและอุปสรรค พบปัญหาเรื่องศัตรูภายนอก เช่น งู ดังนั้นควรศึกษาวิธีการดูแลปรับปรุงโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูภายนอก และพบว่า ปัจจัยต้นทุนหลักมาจากค่าอาหาร หากมีแนวทางในการผสมอาหารเองจะสามารถลดต้นทุน และทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กองบรรณาธิการเกษตรกรก้าวหน้า. (2560). ชนิดของวัคซีน. เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี, หน้า 107-111
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก http://sarakaset.com/2021/02/06/combination-of-laying-hens/
กฤตกร กล่องจิต และคณะ (2538). ผลกระทบของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชนบทอีสาน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเลี้ยงไก่ไข่ของตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33, หน้า 458-462. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะทำงานข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย. (2566). เอกสารรายงานข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดหนองคาบ ปี 2566
ฐญามน วงศ์การณ์. (2562). การศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ กรณีศึกษา อาทิตย์ฟาร์ม. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzkyMTUz&method=inline
ธาวิดา ศิริสัมพันธ์. (2565). การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ 900 ตัว เปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ต้นทุนต่ำ ทำกำไรตัวละ 3 บาท ต่อวัน. เทคโนโลยีชาวบ้าน, 34 (774), หน้า22-25.
ยุทธศักดิ์ ขุนทอง. (2560). เปลี่ยนสัตว์เลี้ยงใต้ถุนบ้านสู่มินิฟาร์มทำรายได้ไม่รู้จบ. ต้นแบบเกษตรกรรม "อยู่ดี กินดี" ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่, 1(2), 88-93.
ยุทธศักดิ์ ขุนทอง. (2561). ไก่พื้นเมือง เลี้ยงกึ่งปิด/ปล่อย สร้างรายได้ไม่ธรรมดา สัตว์เศรษฐกิจพื้นบ้าน มรดกทำกิน สร้างอาชีพ, 1(1), 48-51.
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย.(2556). สถานการณ์ไข่ไก่. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566 จาก http://www.eggthailand.com/upload/images/Document
สุรเชษฐ์ ปินทิพย์ และคณะ. การเลี้ยงไก่ไข่และการบริหารกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566, จาก http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters.pdf
สุรเดช สดคมขำ. (2562). เกษตรกรหญิงจันทบุรี เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ไกมีอายุถึง 3 ปี ไข่ขายได้ราคาดี. เทคโนโลยีชาวบ้าน, 31(699), 69-71.