ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทไทยต่อเงินหยวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (IBR) อัตราเงินเฟ้อ (INF) ดุลบัญชีเดินสะพัด (CA) มูลค่าการส่งออกระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (XUS) มูลค่าการส่งออกระหว่างไทยกับจีน (XCN) มูลค่าการนำเข้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (IUS) และมูลค่าการนำเข้าระหว่างไทยกับจีน (ICN) ที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาทต่อเงินหยวน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลแบบรายเดือนตั้งแต่ปี 2559 - 2563 รวมระยะเวลา 60 เดือน โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งแหล่งข้อมูล ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้หลักทางสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (IBR) และมูลค่าการส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับสหรัฐ (XUS) มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (IBR) มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อเงินหยวน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ชิดชนก จันทนนตรี, พิชญา กาวิหก และสันติชัย ศรีคา. (2560). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี2563 ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256301CoverStory.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bot.or.th/thai/financialmarkets/_layouts/application/exchangerate/exchangerate.aspx
บดินทร์ อึ่งทอง และอติ ไทยานันท์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทกับเงินหยวน. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน. (2564). ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-สหรัฐฯ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564, จาก https://thaiembdc.org/th/เศรษฐกิจ-2/
สมยศ อวเกียรติ และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2557). ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เงินบาทต่อยูโร และเงินบาทต่อเยน. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ ขอนแก่นการพิมพ์.
Hair J.F., Black W.C., Babin B.J., Anderson R.E. & Tatham R.L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). Pearson Prentice Hall: New Jersey
Liao, G., & Zhang, T. (2021). The hedging channel of exchange rate determination. Available at SSRN 3612395.