การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ณฐวัฒน์ พระงาม
จเร เถื่อนพวงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการตัดสินใจท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดดิจิทัล และส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 3) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัล และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการกำหนดสัดส่วนและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .908 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารการตลาดดิจิทัล ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการตัดสินใจท่องเที่ยว โดยภาพรวมและรายด้านมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและส่วนประสมทางการตลาดบริการกับการตัดสินใจท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและส่วนประสมทางการตลาดบริการ มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562, จาก http://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25767.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

คุณัญญา พรหมปัญญานันท์และ นิตนา ฐานิตธนกร. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการสื่อสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์, หน้า A227-A289. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และ ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวบ้านด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 1-12.

ฉัตรสุดา อู่เฉื้อง. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวโบราณสถานเวียงกุมกาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์, กีรติ ตระการศิริวานิช และ ทิพยาภรณ์ รัตนลาโภ (2560). การส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 103-117.

ธนินนุช เงารังสี (2559). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิยม เจริญศิริ. (2558). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยพร ทองสุข (2559). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการสาหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเพศทางเลือก (LGBT) ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรษกฤช ศุทธิเวทิน และ ภูเกริก บัวสอน. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นแซดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 99-110.

วรมน บุญศาสตร์. (2558). การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นซี ในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 14-30.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร, ธนวัฒน์ ขวัญบุญ และ อนงค์พร โศลวรากุล (2558). การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 จากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 226-246.

สาธิดา คงสนทนา (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พ.ศ. 2561 – 2564. พิษณุโลก: สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง.