การพัฒนาระบบตอบโต้สนทนาอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธัญญรัตน์ ไชยวงศ์
วศิน เหลี่ยมปรีชา
ใกล้รุ่ง พรอนันต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตอบโต้สนทนาอัตโนมัติ (Chatbot) สำหรับให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งมักประสบปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านช่องทางดิจิทัล ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้ LINE Official Account (LINE OA) เป็นแพลตฟอร์มหลักในการให้บริการ โดยนำ Google Sheets และ Apps Script มาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บและเรียกคืนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาแนวทางการพัฒนา Chatbot สำหรับผู้สูงอายุ 2) การออกแบบและพัฒนาระบบตอบโต้สนทนาอัตโนมัติที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง ที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การทดสอบระบบกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 86 คนในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้งาน


ผลการวิจัยพบว่า ระบบตอบโต้สนทนาอัตโนมัติสามารถให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยมีอัตราความพึงพอใจของผู้สูงอายุในระดับสูง ระบบช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลและเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากการทดสอบระบุว่าควรมีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการรองรับคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นและการปรับปรุงอินเทอร์เฟซให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ไชยวงศ์ ธ., เหลี่ยมปรีชา ว. ., & พรอนันต์ ใ. (2025). การพัฒนาระบบตอบโต้สนทนาอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3393
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2566 -2570. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566, จาก https://www.oic.go.th.

จันทร์จิราพร ทองประสิทธิ์. (2563). พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์บนสมาร์ตโฟน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(1), 118–129.

นงนุช เกตุ้ย, ขนิษฐา หอมจันทร์, วรวิทย์ ฟั่นคำอ้าย, เดชาวัต ฤชุโรจน์, และอมิต โกชุ. (2562). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์โดยใช้เนื้อหาดิจิทัล กรณีศึกษา กลุ่มผ้าทอย้อมสีธรรมชาติบ้านปางกอม อ.สองแคว จ.น่าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 6(2), 34–41.

บาร์เทอร์อินเตอร์เนชั่นแนล. (2563). ไลน์ OA คืออะไร. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566, จาก https://www.lineofficialaccount.com/what_is_line_oa.php

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). คำนิยาม: สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html.

รัตนาวลี ไม้สัก และ จิราวรรณ แก้วจินดา. (2562). แอปพลิเคชันแชทบอทเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล. (2566). ผู้สูงอายุไทยใส่ใจสังคมมากน้อยเพียงใด? สืบค้น 20 ธันวาคม 2566, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=38

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ไทยคู่ฟ้า, 33(1), 2–5.

สำนักงานสถิติจังหวัดสุโขทัย. (2561). รายงานสรุปการท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัย ประจำไตรมาสที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน 2561. สุโขทัย: สำนักงานสถิติจังหวัดสุโขทัย.

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University: ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2055–2068.