ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

Main Article Content

วรุณพร เลิศสหพันธ์
อุเทน เลานําทา
อัครวิชช์ รอบคอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 149 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ด่านระบบบัญชี คอมพิวเตอร์ และด้านการประมวลผลรายการทางบัญชีออนไลน์ มีความสัมพันธ์ และผลกระทบเชิงบวกกับการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีโดยรวม ดังนั้นผู้บริหารฝ่ายบัญชีของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาความรู้และความสามารถเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการกําหนดกลยุทธ์ การพัฒนาวางระบบ การควบคุม โครงสร้างพื้นฐาน ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ และการประมวลผลรายการทางบัญชีที่มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อให้นักบัญชีปฏิบัติงานทางการบัญชีให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพ รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ และลดระยะเวลาทํางานมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนําพาธุรกิจไปสู่ความสําเร็จอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา สาขากร และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2556). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: ทีพี เอ็น เพรส.

ธนะเมศฐ์ ธนโชติสุขวัฒน์. (2558). ผลกระทบของการควบคุมภายในด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชีคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นาฏลดา ลลิตากุลชัย. (2560). ผลกระทบของศักยภาพการจัดการระบบสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิภาพการดําเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสานสนเทศทางธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บริษัท PwC ประเทศไทย. (2560). PwC เผยมาตรฐานการบัญชีใหม่ดึง IA อัตโนมัติเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/stockmarket/detail/9600000106132.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุตรี บุญโรจน์พงศ์. (2557). ความทันสมัยในงานบัญชี: จากการทําบัญชีด้วยมือไปสู่การทําบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561, จาก http://www.softbizplus.com/accounting-principles/504-modern-account.

พลาญ จันทรจตุรภัทร. (2562). ผลกระทบของทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่และผลการดําเนินงานของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1 มกราคม – มิถุนายน 2562), 48-59.

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2554). บัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

วรินรัศมิ์ นนทะชัย. (2559). ผลกระทบของทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจผลิตและประกอบคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2560). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2561ก). รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนกันยายน 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561, จาก http://eiu.thaieei.com/box/Outlook/74/รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม2561ฉบับจริง.pdf.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2561ข). รายชื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thaieei.com/eiu/TableauPage.aspx?MenuID=18.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2561ค). ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thaieei.com/.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อัจฉราภรณ์ ทวะชารี. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสําเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุเทน เลานําทา และนิภาพร อบทอง. (2560). ความสามารถของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์กับความได้เปรียบด้านข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. WMS Journal of Management, 6(3), 17–31.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Hair, J.F., Black, W.C., & Anderson, R. E. (2006). Multivariate data Analysis. 6th Ed. Multivaria: NJ: Pearson Education International.

Khudir, M. I. (2016). Implementation of Electronic Accounting System in Business Environment. Imperial Journal of Interdisciplinary Research (IJIR), 2(6), 127– 133.

Murungi, S., & Kayigamba, C. (2015). The Impact of Computerized Accounting System on Financial Reporting in the Ministry of Local Government of Rwanda. Emerging Trends in Economics and Management Sciences, 6(4), 261–265.

NDUBUISI, N.A, & others. (2017). Comparative Analysis of Computerized Accounting System and Manual Accounting System of Quoted Microfinance Banks (MFBs) in Nigeria. Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 7(2), 30–43.