การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านดอนคัน ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ชิดชนก มากเชื้อ
ชฎามาศ แก้วสุกใส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบัญชีและศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อการพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านดอนคัน ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ กรรมการกลุ่มออมทรัพย์ หมู่บ้านดอนคัน จำนวน 4 ราย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural Interview) ใช้การตั้งคำถามแบบปลายเปิด และแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติของกลุ่มออมทรัพย์ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชี อย่างเป็นระบบ ใช้การจดบันทึกข้อมูลอย่างง่าย เน้นการบันทึกข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงยอดเงินสด คงเหลือ และกำไรขาดทุนเพียงเท่านั้น รูปแบบของสมุดบัญชีและทะเบียนคุมไม่ครอบคลุมสำหรับ การจดบันทึกข้อมูล ส่งผลให้ข้อมูลทางบัญชีไม่เพียงพอต่อการจัดทำงบการเงิน ผู้วิจัยได้ศึกษาพัฒนาระบบบัญชีให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ ประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบบัญชีด้านการรับเงิน 2) ระบบบัญชีด้านการจ่ายเงิน 3) ระบบปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน รวมถึงมีการพัฒนาด้านเอกสารบัญชี ทะเบียนคุม สมุดบัญชีและรูปแบบงบการเงิน นอกจากนี้ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้น ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อระบบบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 เมื่อพิจารณาความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบบัญชีรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.50 - 4.75

Article Details

How to Cite
มากเชื้อ ช., & แก้วสุกใส ช. . (2020). การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านดอนคัน ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(5), 89–100. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3419
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2553). คู่มือการตรวจสอบบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.

บันเฉย ศรีแก้ว และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ: กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 22(2), 121-130.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และ ปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University, 10(1), 1926 - 1942.

ภาวิณี พูลเกิด. (2556). การพัฒนาระบบบัญชีส าหรับสถาบันการเงินชุมชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มัลลิกา คงแก้ว. (2559). การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 26-33.

ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว. (2558). การพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มอาชีพบ้านหนองกะโห้ อำเภอเมืองตาก. วารสารราชภัฏเชียงใหม่, 16(2), 29-43.

สรินยา สุภัทรานนท์. (2557). การบูรณาการการเรียนและบริการวิชาการเพื่อพัฒนาระบบบัญชี กรณีศึกษากลุ่มอาชีพ. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 52 สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, หน้า 133-140. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(3), 479-489.

อิสรนันท์ทรงเนติเชาวลิต และ ฐิติมา เวชพงศ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian EJournal, 7(2), 1313-1326.

อรทัย แสงทอง และคณะ. (2558). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 221-228.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting Mixed Methods Research. (3rd ed.). Los Angeles: Sage.