ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลของฟาร์มเกษตรแบบอินทรีย์และแบบเคมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

วนิชย์ ไชยแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกิจกรรมการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานและการเพิ่มมูลค่าผลิตผลของเกษตรกรในฟาร์มแบบอินทรีย์ (Organic) และแบบเคมี (Chemical) 2) ศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน ที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลในฟาร์มเกษตร จากเกษตรกรพื้นที่ ปลูกพืช ผักและ ผลไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬและหนองบัวลำภู โดยการแบ่งเป็นชั้นภูมิ (stratified sampling) และใช้เลือกตัวอย่างเป้าหมายแบบเจาะจง (purposive) จำนวน 111 ตัวอย่างจากเกษตรกร โดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจ และค่าสถิติ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (path analysis) โดยใช้ LISREL ด้วยวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ และทดสอบสมมติฐานหลักแบบฟังก์ชันความกลมกลืน (The Maximum Likelihood Fitting Function) ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของกิจกรรมการดำเนินงานโซ่อุปทานและการเพิ่มมูลค่าผลิตผลเกษตรกร ในพื้นที่เพาะปลูกแบบอินทรีย์และแบบเคมี ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการจัดพื้นที่แปลงเพาะปลูกมากที่สุด กิจกรรมกลางน้ำห่วงโซ่อุปทานของเกษตรกร ทั้งสองแบบให้ความสำคัญ กับการคัดเกรดและตัดแต่งผลผลิต โดยกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าผลิตผล ของเกษตรกรแบบฟาร์มอินทรีย์ จะให้ความสำคัญต่อการมีระบบคุณภาพและมาตรฐานให้กับผลผลิต ซึ่งแตกต่างจากเกษตรกรแบบฟาร์มไม่ปลอดสารพิษที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศูนย์กระจายสินค้าและขนส่ง 2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของฟาร์มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่า สมมติฐานที่ 2 กิจกรรมกลางน้ำห่วงโซ่อุปทาน มีอิทธิพลเชิงบวก ต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตร โดยยอมรับสมมติฐานทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และมีค่าความเชื่อมั่น (R2) เท่ากับ 0.60 โดยการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมกลางน้ำ จะมีผลโดยตรงจากการมีฐานระบบข้อมูลเชื่อมโยงโลจิสติกส์ และการมีระบบเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน

Article Details

How to Cite
ไชยแสง ว. (2020). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลของฟาร์มเกษตรแบบอินทรีย์และแบบเคมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 1–20. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3425
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุลรัตน์ ธรรมแสง, สุรนาท ขมะณะรงค์ และ กิมาพร ขมะณะรงค์. (2556). การบริหารธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มข., 1(1), 54-63.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ข้อมูลสารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่น มีเดีย.

Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1988). Structure equation modeling in practice: a review and Recommended two-step approach. Psychological bulletin, 103(3), 411-423.

Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods & Research, Vol.16, 78-117.

Bollen, K. A. (1989). Structure equations with Latent Variables. New York: A Wiley & Sons.

Chen, C. Y., Wan, I. L., Hui, M. K., Cheng, W. C., & Kung, H. C. (2010). The study of a forecasting sales model for fresh food. Expert Systems with Applications, 37(12), 7696-7702.

Churchill, G. A. (1979). A Paradigm for Developing Better Measures of Marketing Construct.

Journal of Marketing, Vol.16, 64-73.

Cooper, M. C. and Ellram, L. M. (1993). Characteristics of Supply ChainImplications for Purchasing and Logistics Strategy, International Management, Vol. 4(2), 13 -24.

Cooper, M. C., Lambert, D. M., Pagh, J., D. (1997) . Supply Chain Management for Logistics. International Journal of Logistics Management, 8(1), 1-14.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data Analysis. (6th ed.). Englewood Cliffs. NJ: Prentice-Hall International.

Hoang, C. V. (2000). Export Behavior and Location of Vietnamese Exporting Firms. Dissertation, Ph.D., University of New York.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1996). Lisrel 8 User’s Reference Guide. Chicago. Scientific Software International.

Lummus, R. R., & Vokurka, R. J. (1996). Defining supply chain management: a historical perspective and practical guidelines. Industrial Management & Data Systems, 99(1), 11-17.

Murphy, K. R. and Davidshofer, C. O. (1998). Psychological testing: Principles and applications. (4th ed.). Upper Saddle River. NJ: Prentice-Hall.

Porter, M.E.(1980). Competitive strategy. New York: Free Press.

Porter, M. E., & Kramer, M. R. (2006). The Link Between Competitive Advantage and corporate Social Responsibility. Harvard Business Review, 84(12), 78-92.

Roger, H. P. (1987). The Determinants of the Firm’s Export Marketing Performance A Theoretical and Empirical Investigation. Dissertation, DBA, Memphis State University.