การจัดการความรู้ในการดำเนินงานด้านเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) โดยการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิศวกรรมความรู้

Main Article Content

ชยกร สัตย์ซื่อ
รัฐพล เรืองวุฒิการณ์
จาตุรงค์ กันชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดความรู้และพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการจัดการความรู้ในการดำเนินงานด้านเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx)โดยการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิศวกรรมความรู้เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังทดลองด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านเกณฑ์ EdPEx จากการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นพบว่าแหล่งเรียนรู้ด้านเกณฑ์ EdPEx ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีไม่เพียงพอต่อการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้คณะและหน่วยงานส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจด้านเกณฑ์ EdPEx ในระดับพอใช้และน้อย สาเหตุหลักคือความไม่เข้าใจเกณฑ์และวิธีการทำและขาดผู้แนะนำ ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นในการจัดการความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึกในการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx จาก 3 คณะต้นแบบคือ คณะแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร และคณะเศรษฐศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือวิธีการทางวิศวกรรมความรู้และCommonKADs เพื่อพัฒนาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯที่มีคุณภาพตามทฤษฎีการส่งเสริมการเรียนรู้ของกาเย่ มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 12 คณะและ 5 หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าก่อนใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯมีระดับความรู้ความเข้าใจด้านเกณฑ์ EdPEx ในระดับพอใช้และน้อย หลังจากได้ทำการศึกษาเรียนรู้เนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯที่ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อนำผลการทดสอบมาวัดผลเปรียบเทียบในเชิงสถิติพบว่าคะแนนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าผลการเรียนรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการจัดการความรู้ไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงควรศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อของกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะพัฒนาสื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

Article Details

How to Cite
สัตย์ซื่อ ช. ., เรืองวุฒิการณ์ ร. ., & กันชัย จ. (2020). การจัดการความรู้ในการดำเนินงานด้านเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) โดยการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิศวกรรมความรู้. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 33–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3428
บท
บทความวิจัย

References

ชยากร โลห์ทองคำ. (2556). การนำสื่อเกมเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้และวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ในธุรกิจซีพีเฟรชมาร์ท. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ซูม[นามแฝง]. (2560). คนไทยสมาธิสั้นลง จะดีหรือเสียในอนาคต?. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2560,จาก https://www.thairath.co.th/content/1000039.

นภา หลิมรัตน์. (2551). แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558, จาก http://teachingresources.psu.ac.th/document/2551/limrat/5Matching%20Questions.pdf.

น้ำฝน พิทักษาไพศาล. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนรู้กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรรณี ชูทัยเจนจิต.(2545).จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

ไพโรจน์ ตีรณธนกุล และไพบูรณ์ เกียรติโกมล. (2543). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-Leaning. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภาวิช ทองโรจน์. (2556). สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2557, จาก http://www.dusit.ac.th/course/standard/no-3.pdf.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2557). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำโครงร่างองค์กรและผลลัพธ์องค์กรตามแนวทาง CMU-EdPEx. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุจโจน์ แก้วอุไร. (2545). หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตาม แนวคิดของกา เย่. สืบค้น 25 สิงหาคม 2558, จาก http://www.bus.rmutt.ac.th/~boons/cai/gange.htm.

วัน เดชพิชัย. (2535). คู่มือการวิจัยและการประเมินโครงการทางการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ปัตตานี: มนตรีบริการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2556). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา. (2557). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับที่ 2556-2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม. (2537). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่เด็กได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Defleur, M. (1989). Theories of mass communication (5th ed.). New York: Longman.

Schreiber, G., Akkermans, H., Anjewierden, A., de Hoog, R., Shadbold, N., van der Velde, W., & Wielinda, B. J. (2000). Knowledge Engineering and Management. The CommonKADs Methodology, Cambrigde: MIT.

Thorndike, Edward L. (1966) Human learning. Cambridge: MIT.