ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณอายุของข้าราชการครูและครูโรงเรียนเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศตพร ภูกองไชย
สิทธิพร อินทุวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณอายุของข้าราชการครูและครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูและครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 649 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณอายุของข้าราชการครูและครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณอายุของข้าราชการครูและครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการออมเพื่อการเกษียณอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) สมการพยากรณ์การออมเพื่อการเกษียณอายุคือ สมการรูปคะแนนดิบ Y = -2.048 + 1.506 (ความเพียงพอของรายได้ปัจจุบัน) + 1.316 (การคิดเชิงบัญชี) + 0.729 (ระยะเวลาในการออม) สมการรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.173 (ความเพียงพอของรายได้ปัจจุบัน) + 0.153 (การคิดเชิงบัญชี) + 0.113 (ระยะเวลาในการออม)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลฐกาน ตั้งทิวาพร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคคลวัยทำงาน: กรณีศึกษาพนักงานธนาคาร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เกษมศรี ปูชนีย์วงศ์. (2558). การตระหนักรู้และพฤติกรรมการออมเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่มบุคคลช่วงอายุระหว่าง 25 – 35 ปี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิภาพร เกิดมาลัย และ มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการครูในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0, หน้า 1440-1451. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สถิติการศึกษาประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา สมวงศ์ และ บังอร สวัสดิ์สุข. (2559). ศึกษาการออมเงินเพื่อวัยเกษียณของลูกค้าธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดพะเยา. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 สร้างเสริมวิทยาการผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC, หน้า 767-779. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ฬุลิยา ธีระธัญศิริกุล และคณะ. (2561). เทคนิคการออมเพื่อการเกษียณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(3), 193-206.

อนงนาฎ ศุภกิจวณิชกุล และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการออมกับการบริหารการเงินก่อนเกษียณอายุ กรณีศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 9(2), 375-389.

Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.