การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้กลยุทธ์การสื่อสาร ทางการตลาดของผู้บริโภคในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผู้บริโภคในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผู้บริโภคในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการตลาดทางตรง ด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ด้านการตลาด โดยบุคคล และด้านการตลาดแบบดิจิตอล ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ () มีค่าเท่ากับ 19.35 ที่องศาอิสระ (df) 11 P-value เท่ากับ .055 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (/df) มีค่าเท่ากับ 1.759 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .044 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) เท่ากับ .015
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมการปกครอง. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
กรมสรรพากร. (2551). วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561 จาก http://www.uniqueaccounting.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=144255
กิตติ ล้ำลักษณ์เลิศ. (2554). การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ “Vaxigrip” กรณีศึกษาแพทย์ในประเทศไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณรงค์รัฐ ร่วมพรภาณุ. (2558). อิทธิพลของการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ต่อการตัดสินใจเลือกเล่นเกมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เกม Dota 2 และ League of Legends. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ดารา ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2546). บทบาทของธุรกิจ SMEs ในยุทธศาสตร์เจาะตลาดและความรับผิดชอบสภาพต่อสิ่งแวดล้อม. มติชนรายวัน. 24 กันยายน 2546.
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2544). กลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์.
ภานุพงศ์ เหรียญกนกกุล. (2554). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ใช้ในการสร้างคุณค่าตราสินค้าของการค้าขายผ่านเครือข่ายสังคม กรณีศึกษา เอ็นโซโก. การศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ ฉัตราติชาติ. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง กิจกรรมพิเศษเพื่อการสื่อสารแบรนด์ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรสุธี เหล่าปาสี. (2557). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
อริสา เหล่าวิชยา. (2556).กลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม. วารสารนักบริหาร, 33(3), 19-24.
Ali, N. N. H., and Allan, M. (2017). The Role of Integrated Marketing Communications in Increasing the Efficiency of Internet-based Marketing among Jordanian Consumers. International Journal of Marketing Studies, 9(4), 97-110.
Fehrnstrom, M. and Rich, M. D. (2009). Using events to drive an integrated marketing model. Journal of Integrated Marketing Communications, (2009 edition), 31-37.
Kotler, P., and Keller, K. L. (2006). Marketing Management. (12th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Kotler. (1997). Marketing management analysis, planning, implementation and control. (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.