พัฒนาคน-พัฒนาอาชีพ-พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน: กรณีศึกษาการส่งนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคหนองคายไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

มนทกานติ์ ศรีตระกูล
พนา ดุลยพัชร์
กรีฑา พรหมเทพ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษานำร่อง (Pilot study) การส่งนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการเข้าร่วมโครงการการจัดส่ง นักศึกษาไปฝึกงานที่ต่างประเทศและเพื่อค้นหาแนวทาง การบริหารจัดการการส่งนักศึกษาอาชีวะไปฝึกทักษะที่ประเทศญี่ปุ่น การศึกษานำร่องในครั้งนี้เพื่อเรียนรู้ความเป็นไปได้ในการเข้าถึงข้อมูลพื้นที่ ซึ่งข้อค้นพบเบื้องต้นจะนำไปดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้บริหารจากวิทยาลัยเทคนิคหนองคายในโครงการความร่วมมือส่งนักศึกษาอาชีวะไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น ผู้บริหารจากโครงการญี่ปุ่นไทยอัศวเลิศและนักศึกษา ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ได้ข้อค้นพบเบื้องต้นที่สำคัญคือข้อค้นพบการเชื่อมโยงขั้นตอนการบริหาร จัดการการเตรียมตัวนักศึกษาอาชีวศึกษาเข้าร่วมโครงการ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ กฎระเบียบ อุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ทั้งประเทศต้นทาง (ประเทศไทย) และประเทศปลายทาง (ประเทศญี่ปุ่น)

Article Details

How to Cite
ศรีตระกูล ม., ดุลยพัชร์ พ., & พรหมเทพ ก. (2019). พัฒนาคน-พัฒนาอาชีพ-พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน: กรณีศึกษาการส่งนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคหนองคายไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 53–66. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3436
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การปฎิรูปการศึกษาด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: วี. ที.ซี. คอมมิวเคชั่น.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2555). การพัฒนาอาชีวศึกษา สำหรับประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/236194.

บริษัทจัดหางานไทยอัศวเลิศ. (2558). โครงการฝึกงานญี่ปุ่นไทยอัศวเลิศ. หนองคาย: บริษัทจัดหางานไทยอัศวเลิศ.

บุญณิสา ส่งแสง. (2554). ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2559, จาก http://school8.education.police.go.th/technical05.html.

วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2545). การวิจัยทางการพยาบาล: หลักการและแนวปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. (2558). แผนภูมิแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการของวิทยาลัยเทคนิค หนองคาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2558, จาก http://www.nktc.ac.th/

วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. (2558). ประวัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558, จาก http://www.nktc.ac.th/

ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ.(2550). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). ศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา (ปวช.). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559, จาก http://www.trueplookpanya.com/.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). อาชีวะก้าวไกล ไทยก้าวหน้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559, จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/nrc2557-article.html.

Glesne, C., & Peshkin, A. (1992). Becoming qualitative researchers: An introduction. White Plains, NY: Longman.

Marshall, C., & Rossman, G. B. (2011). Designing qualitative research. (5th ed). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Robson,M., & Matthew, R. (1995). Qualitative in education: Soar issues for school and their Community. Bangkok: Principal Regional Office for Asia and the Pacific, UNESCO.