หน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วันฑูรย์ มีมงคล
พนา ดุลยพัชร์
นครชัย ชาญอุไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ การฝึกอบรม และระดับการศึกษา และเปรียบเทียบการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ การฝึกอบรม และระดับการศึกษา หาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่กับการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แกนนำอาสาสมัครแรงงานระดับตำบล จำนวน 156 ตำบล และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 113 คน โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แล้วนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าสถิติ t-test ผลการศึกษาหน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 30 ปี ระดับการศึกษามากที่สุด ประถมศึกษา – มัธยมศึกษาต้น ผลการเปรียบเทียบหน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย อายุ ประสบการณ์ การฝึกอบรม และระดับการศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน ความรู้ การจูงใจ และสภาพแวดล้อม โดยระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป มีหน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานมากกว่าระดับการศึกษาประถมศึกษาและมัธยมต้น ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
มีมงคล ว., ดุลยพัชร์ พ., & ชาญอุไร น. (2019). หน้าที่และการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 67–76. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3437
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน.(2556). การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานระดับตำบล จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.

จิรศักดิ์ ชาวทาโขลง. (2541). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

จีระวัฒน์ คงฉาง. (2542). การศึกษา ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. ภาคนิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไชยา ไชยชนะ. (2549). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุราษฏร์ธานี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เทพพนม เมืองแมน และ สวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นริศรา ธนาภิวัฒนกูร. (2542). การประเมินการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจา ยอดดำเนิน. (2522). รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขโครงการลำปาง: การศึกษาทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พนัส หันนาคินทร์. (2546). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ศรัณย์ วีสเพ็ญ. (2555). การประเมินผลโครงการการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานระดับตำบลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัย มข. ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ), 11(2), 95-118.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

สมพร ชุมช่วย และ บุณยวรรณ สุขเนียม. (2540). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง. พัทลุง: เทศบาลเมืองพัทลุง

สุธีระ ทานตวนิช. (2545). การบริหารงานโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: สตรีเนติศึกษา.

สุรพงษ์ อิ่มเอม.(2548). การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.