ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของบุคลากร บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน
อภิชาติ กิตติศักดิ์นาวิน
ศรวิชา กฤตาธิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ (2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณรูปแบบการสำรวจที่มีแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่า มีความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชากรคือ บุคลากรธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เขตพุทธมณฑล ผู้วิจัยกำหนดขนาดของตัวอย่างตามการคำนวณของ Yamane ซึ่งกำหนดขนาดของตัวอย่างไม่น้อยกว่า 102 คน ณ ค่าความคลาดเคลื่อน 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างของการวิจัยนี้ จำนวน 129 คน สำหรับการวิเคราะห์เชิงพรรณนาคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมานคือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกหรือแปรผันตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ .590 .708 และ .849 ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์คือ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถอธิบายความผันแปรหรือมีอำนาจพยากรณ์ หรือมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลได้ถึงร้อยละ 62.9 หรือมีค่า R2 เท่ากับ .629 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลคือ ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถอธิบายความผันแปรหรือมีอำนาจพยากรณ์หรือมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลได้ถึงร้อยละ 73.3หรือมีค่า R2 เท่ากับ .733 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และ รัชนิภา สายอุบล. (2556). ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาการจัดการวิจัย 2013 เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, จังหวัดเชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์, อภิชาติ กิตติศักดิ์นาวิน, ศรวิชา กฤตาธิการ และ กฤษฎา พรรณราย. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรสานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร วารสาร PULINET Journal, 2(4), 182-193.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, พรชัย สุขอยู่ และ กิตติพงษ์ สมบูรณ์. (2557). ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ครั้งที่ 3, จังหวัดภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554ก). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา, จังหวัดชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554ข). ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเชาวน์อารมณ์ (EQ) และเชาวน์ทางจิต (SQ). ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554ค). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลศึกษานักศึกษาปริญญาโทคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติThe National SMART Conference I, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554ง). ความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัทผลิตตลับหมึกพร้อมผงหมึกเพื่อการส่งออก แห่งหนึ่ง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 7, จังหวัดพิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2555ก). ปัจจัยที่อิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ HR CONFERENCE ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2555ข). การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่อิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 8, จังหวัดพิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2556).การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่อิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการโรงพยาบาลสงฆ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 6, จังหวัดนครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2558). ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรบริษัท กสท โทรคมนาคม จากัด (มหาชน). ใน การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 11, จังหวัดพิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Amabile, T. M. (1983). The social psychology of creativity: a componential conceptualization. Journal of Personality and Social Psychology, 45(2), 357-376.

Amabile, T. M. (1988). A model of creativity and innovation in organizations. Research in Organizational Behavior, Vol.10, 123-167.

Amabile, T. M. (1999). “How to kill creativity.” In Harvard Business Review on Breakthrough Thinkng. Boston, MA: Harvard Business School Press, p.1-28.

Amabile, T. M., Conti, R., Coon, H., Lanzenby, J. and Herron, M. (1996). Assessing the work environment for creativity. The Academy of Management Journal, 39(5), 1154-1184.

Amabile, T. M., Schatzel, E. A., Moneta, G. B., & Kramer, S. J. (2004). Leader behaviors and the work environment for creativity: perceived leader support. Leadership Quarterly, 15(1), 5-32.

Andriopoulos, C. and Lowe, A. (2000). Enhancing organizational creativity: The process of perpetual challenging .Management Decision, 38(10), 734-742.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of control. New York: W.H. Freeman & Company.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York : The Free Press.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York. Harper & Row.

Cumming, A. & Oldham, G. R. (1997). Enhancing creativity: managing work contexts for the high potential employee. California Management Review, 40(1), 22-38.

Cummings, L. L., Hinton, B. L. and Gobdel, B. C. (1975). Creative behavior as a function of task environment: impact of objectives, procedures, and controls. Academy of Management Journal, 18(3), 489-499.

Di Lello, T. C., and Houghton, J. D. (2008). Creative Potential and Practised Creativity: Identifying Untapped Creativity in Organizations. Creativity and Innovation Management, 17(1), 37-46.

Farmer, S. M., Tierney, P. and Kung-McIntryre, K. (2003). Employee creativity in Taiwan: an application of role identity theory. The Academy of Management Journal, 46(5), 618-630.

Ford, C. M. (1996). A theory of individual creative action in multiple social domains. Academy of Management Review, 21(4), 1112-1142.

Gong, Y., Huang, J. C., &Farh, J. L. (2009). Employee learning orientation, transformational leadership, and employee creativity: the mediating role of employee creative self-efficacy. Academy of Management Journal, 52(4), 765-778.

Guilford, J. P. (1980). Cognitive Styles: What are they?. Journal of Educational and Psychological Measurement, 40(3), 715-735.

Gumusluoglu, L., & Ilsev, A. (2009). Transformational leadership, creativity, andorganizational innovation. Journal of Business Research, 62(4), 461-473.

Herrmann, D. and Felfe, J. (2013). Moderators of the Relationship Between Leadership Style and Employee Creativity: The Role of Task Novelty and Personal Initiative. Creativity Research Journal, 25(2), 172–181.

Kanter, R. M. (1983). The Change Masters: Innovation and Entrepreneurship in the American Corporation. New York: Simon & Schuster.

McGregor, J. (2007). The world’s most innovative companies. Retrieved November 20, 2017, from https://www.bloomberg.com/news/articles/2007-05-04/the-worlds-most-innovative-companiesbusinessweek-business-news-stock-market-and-financial-advice

Mohsin, A., & Lockyer, T. (2010). Customer perceptions of service quality in luxury hotels in New Delhi, India: an exploratory study. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 22(23), 160-173.

Mumford, M. D. and Gustafson, S. B. (1988). Creativity syndrome: integration, application, and innovation. Psychology Bulletin. 103(1), 27-43.

Neubert, M. J., Kacmar, K. M., Carlson, D. S., Chonko, L. B., & Roberts, J. A. (2008). Regulatory focus as a mediator of the influence of initiating structure and servant leadership on employee behavior. Journal of Applied Psychology, 93(6), 1220–1233.

O’Reilly, C. A., Chatman, J. and Caldwell, D. F. (1991). People and organizational culture: a profile comparison approach to assessing person-organization fit. Academy of Management Journal, 34(3), 487-561.

Ogaard, T., Marnburg, E., & Larsen, S. (2008). Perceptions of organizational structure in the hospitality industry: consequences for commitment, job satisfaction and perceived performance. Tourism Management, 29(4), 661-671

Oldham, G. R. and Cummings, A. (1996). Employee creativity: personal and contextual factors at work. Academy of Management Journal, 39(3), 607-634.

Shin, S. J., & Zhou, J. (2003). Transformational leadership, conservation, and creativity:evidence from Korea. Academy of Management Journal, 46(6), 703-714.

Sosik, J. J., Avolio, B. J., & Kahai, S. S. (1997). Effects of leadership style and anonymity on group potency and effectiveness in a group decision support system environment. Journal of Applied Psychology, 82(1), 89-103

Stein, M. I. (1974). Stimulating Creativity. New York: Academic Press.

Tierney, P. and Farmer, S.M.(2002). Creative self-efficacy: its potential antecedents and relationship to creative performance. Academy of Management Journal, 45(6), 1137-1148.

Tierney, P. and Farmer, S.M. (2011). Creative self-efficacy development and creativeperformance over time. Journal of Applied Psychology, 96(2), 277-293.

Tierney, P., Farmer, S. M., and Graen, G. B. (1999). An examination of leadership and employee creativity: The relevance of traits and relationships. Personnel Psychology, Vol.52, 591-620.

Trompenaars, F., and Hampden-Turner, C. (2010). Riding the waves of Innovation. New York: McGraw-Hill.

Tushman, M. and O’Reilly, C. A. (1997). Winning through Innovation: A Practical Guide to Leading Organizational Change and Renewal. Boston, MA: Havard Business School Press.

Utterback, J. M. (1994). Mastering the Dynamics of Innovation. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Wang, C., & Cheng, B. S. (2010). When does benevolent leadership lead to creativity? The moderating role of creative role identity and job autonomy. Journal of Organizational Behavior, 31(1), 106–121.

Wang, C., Tsai, H. and Tsai, M. (2014). Linking transformational leadership and employee creativity in the hospitality industry: The influences of creative role identity, creative self-efficacy, and job complexity. Tourism Management, Vol.40, 79-89.

Woodman, R. W., Sawyer, J. E., and Griffen, R. W. (1993). Toward a theory of organizational creativity. Academy of Management Journal, 18(2), 293-321.

Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.