การศึกษาคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ภัทรธีรา แพครบุรี
วิเชียร ก่อกิจกุศล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสารของสมาชิกสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมาตามความคิดเห็นของสมาชิก และ 3) เปรียบเทียบคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 357 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน และการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. พฤติกรรมการเปิดรับสารของสมาชิกสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมาพบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับข่าวจากโทรทัศน์ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการเปิดรับข่าวจากโทรทัศน์ระยะเวลา 15-30 นาที โดยเปิดรับข่าวสารจากโทรทัศน์ร่วมกับบิดา/มารดา/พี่น้อง เปิดรับข่าวสารจากโทรทัศน์แล้วนำสารเหล่านั้นไปพูดคุยกับบุคคลอื่น โดยพูดคุยบ้างเท่าที่จำเป็น และเปิดรับข่าวการเมืองด้วยสาเหตุเพื่อรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ 2. คุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา ตามความคิดเห็นของสมาชิกสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่น พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านการรายงานเหตุการณ์ที่สดและทันต่อเหตุการณ์ทางการเมือง และด้านผลกระทบทางการเมือง มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเหตุการณ์ทางการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจ ด้านความเด่นทางการเมืองและความมีเงื่อนงำในทางการเมือง ด้านความใกล้ชิดทางการเมือง ด้านความขัดแย้งทางการเมือง ด้านความผิดปกติทางการเมือง ด้านความก้าวหน้าหรือพัฒนาการทางการเมือง ด้านเพศในทางการเมือง ตามลำดับ 3. การเปรียบเทียบคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์พบว่า เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน สมาชิกสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่น และระยะเวลาการเป็นสมาชิก แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แพครบุรี ภ., & ก่อกิจกุศล ว. (2019). การศึกษาคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(2), 35–60. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3440
บท
บทความวิจัย

References

กฤชณัท แสนทวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อชื่อเสียงองค์กรและการจัดการชื่อเสียงองค์กรธุรกิจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุพร เกิดสมบุญ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดรับชมรายการข่าวโทรทัศน์ภาคเช้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศ์ศิษฏ์ วรรณวิจิตร. (2559). การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วรวิทย์ แซ่หลี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศกลวรรณ ศิริมาศ. (2554).ความพึงพอใจการเปิดรับชมรายการข่าว 3 มิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2558). คุณค่าข่าวในการนำเสนอของสื่อมวลชนไทย. กรุงเทพมหานคร:สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

สุรชัย โตพิพัฒน์ชัย. (2550). ทัศนคติที่มีต่อการชมรายการข่าว “ไอทีวี ฮอตนิวส์” ของผู้ชมใน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสริมศิริ นิลดำ. (2555). คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Palmgreen, P., & Rayburn, J. D. (1982). Gratification sought and media exposure an expectancy value Model. Communication Research, 9(4), 561-580.

Schramm, W. (1973). Men, message, and media: A look at human communication. New York: Harper & Row.

Yamane, T. (1970). Statistics: an introductory analysis. (3rded.). New York: Harper & Row.