กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Main Article Content

อารยา แปนุ่น
ปภัสรา พรมแพง
ลภัสรดา พิชญาธีรนาถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยทำการศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลยที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ จำนวน 237 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติแบบ F-test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ ส่วนใหญ่ขายสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ใช้ระยะเวลาในการประกอบธุรกิจต่ำกว่า ½ ปี มีเงินลงทุนเริ่มแรกอยู่ที่ 500 - 2,000 บาท มีรายได้จากการประกอบธุรกิจอยู่ระหว่าง 1,001 - 3,000 บาท มีการขายสินค้าผ่าน Facebook มากกว่าช่องทางอื่น และเป็นตัวแทนย่อย นอกจากนี้กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.58, S.D. = 0.43) ซึ่งกลยุทธ์ด้านความต้องการผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.74, S.D. = 0.38) รองลงมาด้านการติดต่อสื่อสาร (gif.latex?\bar{x} = 4.62, S.D. = 0.42) ด้านทำให้ต้นทุนต่ำ (gif.latex?\bar{x} = 4.50, S.D. = 0.47) และด้านการจัดจำหน่ายสินค้า (gif.latex?\bar{x} = 4.47, S.D. = 0.45) ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำแนกตามข้อมูลการประกอบธุรกิจ พบว่า เงินลงทุน รายได้ และระดับตัวแทนจำหน่ายในการประกอบธุรกิจออนไลน์แตกต่างกัน กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิดาภา ทัดหอม. (2560). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐศักดิ์ วรวิทยานนท์. (2556). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจขายสินค้าและบริการออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิฆัมพร เพทราเวช. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคความพึงพอใจในคุณภาพการบริการที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์เนวาด้า จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(1), 87-97.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ปวุฒิ บุนนาค. (2556). กลยุทธ์การตลาดธุรกิจออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา Facebook Fanpage ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

พัชราภรณ์ ชัยพัมนเมธี และ อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจทางอินเตอร์เน็ต (Internet Entrepreneur) ในรูปแบบพันธมิตรทางการตลาดอินเตอร์เน็ต (Affiliate Internet Marketing) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซี่ยน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศักดิพัฒน์ วงศ์ไกรศรี. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Cs ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Fs ปัจจัยการโฆษณาทางสังคมออนไลน์ และปัจจัยกิจกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2561, จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2017.html