ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอาเซียนต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อาหวัง ล่านุ้ย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักท่องเที่ยวอาเซียน โดยศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวอาเซียนจำนวน 150 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีค่า IOC แต่ละข้อมากกว่า 0.75 และค่าความสอดคล้องโดยรวมเท่ากับ 0.83 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวอาเซียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 มาจากประเทศมาเลเซีย มีการศึกษาระดับอนุปริญญา-ปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวที่มีหลากหลายรูปแบบ เดินทางได้สะดวก สถานที่สะอาด สถานที่มีความสวยงาม มีความปลอดภัยระหว่างการท่องเที่ยว โดยความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวรวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 อยู่ในระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสถานที่พัก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวหรือย่านธุรกิจ เดินทางสะดวก ที่พักสะอาด บรรยากาศน่าพักผ่อน มีความปลอดภัยและมีวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับที่พักครบ สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับที่พักและจองที่พักผ่านระบบออนไลน์ได้ ส่วนนักท่องเที่ยวมุสลิมก็สามารถเลือกหาที่พักที่ให้บริการตามหลักศาสนาอิสลามได้ โดยความพึงพอใจรวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 อยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่มีความกระตือรือร้นในการให้บริการ รวดเร็ว ทันเวลา และมีอัธยาศัยดี สามารถตอบคำถาม ให้คำแนะนำได้ทุกเรื่อง โดยความพึงพอใจรวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 อยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะถนนสายหลักที่ออกจากชายแดน มีป้ายบอกเส้นทาง มีที่พักริมทาง มีร้านอาหาร สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ โดยร้านอาหารมีหลายรูปแบบ มีอาหารให้เลือกหลากหลาย รวมทั้งอาหารฮาลาลก็หาได้ไม่ยาก สถานที่ท่องเที่ยวมีความเป็นระเบียบและมีข้อมูลข่าวสาร กฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคข้อจำกัดในการเข้ามาในพื้นที่อยู่บ้าง โดยความพึงพอใจรวมทุกด้านต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
ล่านุ้ย อ. (2019). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอาเซียนต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(3), 1–20. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3470
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114

กฤศนพัชญ์ บุญช่วย และ สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 6(2), 151-167.

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2555). ความสำเร็จของการนำนโยบายบริหารแหล่งท่องเทียวไปปฏิบัติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 8(1), 81-90.

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 66-79.

เชฎฐินี เชี่ยวนาวิน. (2553). ลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันส่งผลต่อการคำนึงถึงปัจจัยส่วนผสมการตลาดบริการของสถานพักแรมประเภทรีสอร์ทราคาสูงที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธฤติมา อัญญะพรสุข. (2558). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยววัยสูงอายุชาวยุโรป. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประภาพร พนมไพร. (ม.ป.ป.). ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการต้อนรับของชาวเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.

พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรประภา ไชยอนุกูล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

พิชัย นิรมานสกุล. (2554). พฤติกรรมการท่องเที่ยว การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2556). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

วราพร ฉายกี่. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และกวิน วงศ์ลีดี. (2555). การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยงของอาเซียนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานการศึกษาเรื่อง การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/academic/data_0227120312.pdf

สุณิษา สืบเจ๊ก ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และ ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (มปป). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเยี่ยมชมประเทศไทย. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5.

สุวภาพ ประภาสวัสดิ์. (2554). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบวันเดียว ณ หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ASKEW, MARC and COHEN, ERIK. (2004). Pilgrimage and Prostitution: Contrasting Modes of Border Tourism in Lower South Thailand. TOURISM RECREATION RESEARCH, 29(2), 89-104.

IMT-GT. (2015) Green City Action Plan for Songkhla and Hat Yai Municipalities. Retrieved May 9, 2018, from http://www.adb.org/sites/default/files/related/41572/imt-gt-green-city-action-plan-songkhla-hat-yai-municipalities-march-2015.pdf

Kaosa-ard, Mingsarn (2002). Development and Management of Tourism Products: The Thai Experience. CMU Journal, 1(3), 289.

Maud, Jovan. (2011). Sacred tourism and the state: paradoxes of cross-border religious patronage in southern Thailand. Gottingen: Max Planck Institute for the Study of Religious and Ethnic Diversity.

Ramona, Frunza and Carmen, Pascariu Gabriela. (2009). THE RELATIONSHIP BETWEEN TOURISM AND SUSTAINABLE DEVELOPMENT IN THE EUROPEAN CONTEXT. Retrieved May 9, 2018, from http://steconomice.uoradea.ro/anale/volume/2009/v1-international-relations-and-european-integration/46.pdf

Samimi, Ahmad Jafari., Sadeghi, Somaye., and Sadeghi, Soraya. (2011). Tourism and Economic Growth in Developing Countries: P-VAR Approach. Middle-East Journal of Scientific Research, 10(1), 28-32.

Siegel, Paul B. and Jakus, Paul M. (1995). TOURISM AS A SUSTAINABLE RURAL DEVELOPMENT STRATEGY: BUILDING CONCENSUS IN RESIDENT ATTITUDES. Southern Journal of Rural Sociology, 11(1), 17-41.

Srinivasan, P. and Others. (2012). Tourism and Economic Growth in Sri Lanka: An ARDL Bounds Testing Approach. The Romanian Economic Journal, XV(45), 211-226.