การใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

Main Article Content

พวงทอง วังราษฏร์
จันทร์ฉาย กันทิวงศ์

บทคัดย่อ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด มีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษาข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีด้านต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากกลุ่มตัวอย่างของเกษตรกร จำนวน 67 ราย ใช้วิธีการคัดเลือกแบบตามสะดวก พบว่า ไร่ขนาดเล็ก (พื้นที่ 1-19 ไร่) ต้นทุนการผลิตทั้งหมดคิดเป็น 4,411.58 บาทต่อไร่ คิดเป็น 4.29 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนคงที่เป็นเงิน 544.87 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยเท่ากับ 3,866.71 บาทต่อไร่ คิดเป็น 3.76 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับข้อมูลด้านผลตอบแทน มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,029.00 กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 5,885.88 บาท และมีกำไรสุทธิ 1,474.30 บาทต่อไร่ ไร่ขนาดกลาง (พื้นที่ 20-39 ไร่) ต้นทุนการผลิตทั้งหมดคิดเป็น 4,232.44 บาทต่อไร่ คิดเป็น 3.69 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนคงที่เป็นเงิน 114.09 บาทต่อไร่ มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ยเท่ากับ 4,118.35 บาทต่อไร่ คิดเป็น 3.59 บาทต่อกิโลกรัม ข้อมูลด้านผลตอบแทน มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,146.97 กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 6,732.71 บาท และมีกำไรสุทธิ 2,500.27 บาทต่อไร่ ไร่ขนาดใหญ่ (พื้นที่มากกว่า 40 ไร่) ต้นทุนการผลิตทั้งหมด คิดเป็น 3,835.79 บาทต่อไร่ คิดเป็น 3.35 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนคงที่เป็นเงิน 73.35 บาทต่อไร่ มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ยเท่ากับ 3,762.31 บาทต่อไร่ คิดเป็น 3.29 บาทต่อกิโลกรัม ข้อมูลด้านผลตอบแทน มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,144.39 กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 7,610.19 บาท และมีกำไรสุทธิ 3,774.40 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อนำไปวางแผนกำไรต่อไป คือ ไร่ขนาดเล็ก มีจุดคุ้มทุนต่อไร่ เท่ากับ 277.67 กิโลกรัม ไร่ขนาดกลาง จุดคุ้มทุนต่อไร่ เท่ากับ 50.05 กิโลกรัม ไร่ขนาดใหญ่ จุดคุ้มทุนต่อไร่ เท่ากับ 21.81 กิโลกรัม

Article Details

How to Cite
วังราษฏร์ พ., & กันทิวงศ์ จ. (2019). การใช้ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(3), 35–48. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3473
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2556). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2558, จาก http://It.doa.go.th/vichakan/news.php?newsld=17

พิชยพิมพ์ คำเพียร. (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. การประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา และการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”

ภัทร ครรชิตชัย และ สมเกียรติ ชัยพิบูล. (2558). การลงทุนปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ยิ่งลักษณ เขมโชติกูร. (2552). ผลกระทบของแนวทางการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอำเภอเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามนโยบายของรัฐบาลโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตรพืชอาหารและพลังงานทดแทน: กรณีศึกษาสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง. (2556). ข้อมูลการเกษตร. ลำปาง: สำนักงานฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2558, จาก http://www.oae.go.th/view/1/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2559, จาก http://www.oae.go.th/view/1/

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2555). การสร้างภูมิคุ้มกันแบบพึ่งพาตนเองและความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในเขตภาคเหนือ โดยการใช้ข้อมูลทางการบัญชียกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการ. เอกสารประกอบการประชุมระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ.

Bumebescu, S. S., and Voiculescu, A. (2014). Cost Benefit Analysis and its Role in Investment Projects in Agriculture. Hyperion Economic Journal, 2(4), 44-53.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.