ความสัมพันธ์และผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพบัญชี การตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพกับคุณภาพรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย

Main Article Content

ฉายรุ่ง ไชยกำบัง
ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์
ชัพวิชญ์ คำภิรมย์
อนุชา พุฒิกูลสาคร

บทคัดย่อ

ทักษะด้านวิชาชีพบัญชีและการตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทดสอบความสัมพันธ์และผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพบัญชี และการตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามจากผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย แบบสอบถามที่ตอบกลับมาถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 266 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ทักษะทางวิชาชีพบัญชีและการตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
ไชยกำบัง ฉ., วิโรจน์รัตน์ ฉ., คำภิรมย์ ช., & พุฒิกูลสาคร อ. (2019). ความสัมพันธ์และผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพบัญชี การตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพกับคุณภาพรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(3), 49–60. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3474
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2544). กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2558, จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1079.

กรมสรรพากร. (2545). คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.123/2545 เรื่อง กำหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก www.rd.go.th/.

กรมสรรพากร. (2560). ฐานข้อมูลรายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก www.rd.go.th/.

นวพร ขู้เปี้ยเต้ง และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ผลกระทบของทักษะและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่มีต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 57-66.

นันทวรรณ วงศ์ไชย. (2552). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Aaker, David A., Kumar, V. and Day, George S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley and Sons.

Anantharaman, D. (2012). Comparing self-regulation and statutory regulation: Evidence from the accounting profession. Accounting, Organizations and Society, 32(2), 1-17.

Armstrong, J. S., & Overton, Terry S. (1977). Estimating Non-response Bias in Mail Surveys. Journal of Marketing Research, 14(3), 396-402.

Chaikambang, C., & Ussahawanitchakit, P. (2011). Audit professional commitment and Audit Success: An Empirical Examination of Certified Public Accountants in Thailand. European Journal of Management, 11(3), 1-15.

Hair, J. F. I., and others. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th Ed.). New Jersey: Pearson.

Krishnan, G. V., & Visvanathan, G. (2008). Was Arthur Andersen different? Further evidence on earnings management by clients of Arthur Andersen. International Journal of Disclosure and Governance, 5(1), 36-47.

Moroney, Robyn, (2007). Does Industry Expertise Improve the Efficiency of Audit Judgment?. AUDITING. A Journal of Practice & Theory: November 2007, 26(2), 69-94.

Nunnally, Jum C., & Bernstein, Ira H. (1994). Psychometric Theory. New York, NY: McGraw-Hill.