การเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มโรงสีข้าว บ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่ม สภาพปัญหาปัจจุบัน และแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และศึกษากระบวนการเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าว บ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มโรงสีข้าว บ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำนวน 20 คน เกิดจากสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นการวิจัย วิธีการศึกษาเอกสาร และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกกลุ่มในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพทำนา อาชีพเลี้ยงสัตว์ การทำเกษตร สมาชิกในกลุ่มมีจำนวน 120 คน 2) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกลุ่มโรงสีข้าว คือ ราคาข้าวตกต่ำ กลุ่มขายข้าวได้น้อยลง สมาชิกขาดทักษะในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องสีข้าวที่มีขาดคุณภาพหรือคุณภาพที่ลดลง และขาดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่ผลิตออกมา และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สมาชิกได้มีการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการแปรรูปข้าวเป็นขนม คือจะทำการแปรรูปเป็นขนมข้าวแต๋น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 3) กระบวนการในการเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าว สมาชิกเสนอจะทำการแปรรูปข้าวเป็นขนมข้าวแต๋น โดยกลุ่มมองว่าการแปรรูปข้าวเป็นขนมข้าวแต๋นนั้นทำง่าย สามารถใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน และสามารถเก็บไว้ได้นาน และจะสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มได้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2557). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560, จาก http://www.amexteam.com/resources/helper/editorupload/knowledge/1/01_.pdf.
วิระเดช นารินทร์ และเพ็ญณี แนรอท. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกร: กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(1), 130-138.
อัจฉรา มลิวงค์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ แม่โจ้-แพร่ วิจัยครั้งที่ 2, หน้า 526-532. แพร่: มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง.