ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงดนตรีที่มีต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง
กรกนก ดลโสภณ
ภัทราพร ภาระนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงดนตรีที่มีต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การตลาดเชิงดนตรี ด้านการใช้ศิลปินเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ด้านการเปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการแสดงความสามารถทางดนตรี ด้านการแนะนำเพลงและรูปแบบทางดนตรีใหม่ๆ และด้านการเป็นพันธมิตรระหว่างศิลปินกับตราสินค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ดังนั้น ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนการดำเนินงานขององค์กร ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ จงเรืองทรัพย์. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกฟังเพลงผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในกลุ่มวัยรุ่น. การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรภัทร ทองบุญเรือง. (2559). การศึกษาพฤติกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อการรับชมการเผยแพร่งานแสดงดนตรีสดและบันทึกการแสดงสด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชื่นสกุล บุนนาค. (2559). การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอล ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 56(1), 187-287.

ปิยพร ชุ่มมงคล และคณะ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชันเอกซ์ และเจเนอเรชันวาย ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(3), 485-506.

พิสิฐวสุ แสนทวีสุข. (2557). การรับรู้ข่าวสารและจดจำสินค้าด้วยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ของวัยรุ่นในจังหวัดนครราชสีมา: กรณีศึกษา เครื่องดื่ม M-150. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 11(1), 99-105.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 364-373.

วิษณุ เหลืองลออ และ อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์. (2558). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ Smart Phone ของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(4), 147-164.

ศญาภรณ์ บุญยารุณ. (2553). ความพึงพอใจในการตลาดเชิงกิจกรรมและความภักดีของผู้บริโภคต่อบัตรเครดิตเคทีซี. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม. (2557). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมของประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม.

สุรางคนา ณ นคร. (2552). การสื่อสารตราสินค้าในแนวทางการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรชุมา นิลวงศ์. (2552). การใช้กิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดและคุณค่าตราสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี นาคสีสุก. (2554). การรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านทางกิจกรรมการตลาดด้านดนตรี (Music Marketing) ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (4th ed.). USA: john Wiley & Sons.