การศึกษาความสัมพันธ์ด้านบุคลิกภาพของผู้บริโภคผ่านพฤติกรรมการซื้อ แบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

Main Article Content

กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์
สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพของผู้บริโภคที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ผ่านการใช้แนวคิดบุคลิกภาพของตราสินค้า ซึ่งสอบถามกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในบริเวณงานแสดงสินค้า โดยได้มีการเก็บตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 330 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดในประเด็นด้านบุคลิกภาพของผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งข้อมูลด้านบุคลิกภาพที่นำมานั้นได้นำมาจากบุคลิกภาพของตราสินค้าจำนวน 42 ประเภท จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal component analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธี แวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า ชุดตัวแปรที่ทำการศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 5 องค์ประกอบ อันประกอบไปด้วย กลุ่มคนหัวสมัยใหม่ กลุ่มคนเน้นภาพลักษณ์ กลุ่มคนมองโลกในแง่ดี กลุ่มคนสมถะ และกลุ่มคนตามใจตนเอง ซึ่งหากนำมาวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) กับการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าพบว่าค่า R Square เท่ากับ 0.177 และผลทดสอบโมเดลมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยกลุ่มคนเน้นภาพลักษณ์ และกลุ่มคนที่ซื้อตามใจตัวเอง มีผลต่อการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าคิดเป็นร้อยละ 71.2 และ 22.4 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มคนหัวสมัยใหม่ มีผลต่อการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าในทิศทางตรงกันข้าม คิดเป็นร้อยละ 41.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ขายควรใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสมในการกระตุ้นการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้ากับกลุ่มผู้มีบุคลิกแบบเน้นภาพลักษณ์และแบบตามใจตนเอง

Article Details

How to Cite
วัฒนประจักษ์ ก., & เลิศศรีชัยนนท์ ส. (2019). การศึกษาความสัมพันธ์ด้านบุคลิกภาพของผู้บริโภคผ่านพฤติกรรมการซื้อ แบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(4), 25–36. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3480
บท
บทความวิจัย

References

กันยา สุวรรณแสง. (2533). การพัฒนาบุคลิกภาพ.กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพฯ: บํารุงสาสน์.

ทิชากร เกษรบัว. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 11(2), 59-72.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2538). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Lisrel) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวาณิช. (2548). เอ็นเนียแกรม-ศาสตร์เพื่อความเขาใจตนเองและผูอื่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

วีระ ไชยศรีสุข. (2533). สุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.

ศรัณย์ อมาตยกุล และ ก่อพงษ์ พลโยราช. (2559). บุคลิกภาพตราสินค้า. วารสารนักบริหาร, 36(2), 89-101.

Aaker, J. L. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research, 34(3), 347-356

Asadollahi, A., H., K. H., Abdolvand, M. A., and Reshadatjooh, H. (2015). The new brand personality model in IRAN. International Journal of Scientific Management & Development, 3(2), 838-843.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Education. Hand Book I: Cognitive Domain, New York: David McKay.

Bosnjak, M., Bochmann, V., & Hufschmidt, T. (2007). Dimensions of brand personality attributions: A person-centric approach in the German cultural context. Social Behavior and Personality: an International Journal, 35(3), 303-316.

Briggs, K. C. (1987). Myers-Briggs type indicator. Form G. Palo Alto. California: Consulting Psychologists.

Kim, J. O., Mueller, C. W. (1978). Factor Analysis: Statistical Methods and Practical Issues. Beverly Hills, CA: Sage.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, Vol.30, 607-610

Plummer, J. T. (1985). How personality makes a difference. Journal of Advertising Research, 24(6), 27-31.

Rook, D. W., and Robert, J. F. (1995). Normative Influences on Impulsive Buying Behavior. Journal of Consumer Research, Vol. 22, 305-313.

WP. (2017). ทำความเข้าใจ “จิตวิทยาพฤติกรรมการซื้อ” เคล็ดลับแบรนด์ชนะใจลูกค้า ในยุคไร้ Brand Loyalty สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2662 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/08/the-psychology-of-consumer/

Youn, S., and Faber, R. J. (2000). Impulse Buying: Its Relation to Personality Traits and Cues. Advances in Consumer Research, Vol. 27, 179-185.