ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีไทย

Main Article Content

ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย
ทิพย์สุดา ทาสีดำ
สุรีย์ โบษกรนัฏ
ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านจรรยาบรรณและด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีในการปฏิบัติงานของนักบัญชีไทย และเพื่อทดสอบผลกระทบระหว่างปัจจัยด้านจรรยาบรรณ และด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีไทย ประชากรคือนักบัญชีในสำนักงานบัญชีเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย จำนวน 202 สำนักงาน สำนักงานละ 1 คน จำนวน 135 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย 1) ปัจจัยด้านจรรยาบรรณและปัจจัยด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี ในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยด้านจรรยาบรรณ และปัจจัยด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี ได้แก่ ความทันต่อเวลา ทางการบัญชีของนักบัญชีไทยมีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรอมร แย้มเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี: กรณีศึกษานักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 19-43.

ชลธิชา หอมสุวรรณ. (2557). การบริหารจัดการและทักษะการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในมุมมองของนักบริหารงานการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ชุรีพร เมืองจันทร์, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์ และ ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณการบัญชีบริหารกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 5(3), 48-57.

ฐิติกาญจน์ ศรีพอ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณปฏิบัติงานทางการบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รวิวรรณ ยอดจันทร์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(2), 1-11.

รัชนีกร จันทิมี และ.ฐิติรัตน์ มีมาก. (2559). จรรยาบรรณของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน รายงานการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ 2559, หน้า 1123-1131. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภาวรรณ สุขสมัย และคณะ. (2556). ผลกระทบของระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(2), 55-56.

สิทธิกร ด่านพิไลพร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับ ประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจประกันวินาศภัยเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุพรรณี ทัพธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(1), 50-59.

อังคณา เบ็ญจศิล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานทางการบัญชีที่ดีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.