ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

เจตรัมภา พรหมทะสาร
ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย
พิเชษฐ์ โสภาพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานในแต่ละปัจจัยใดที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 อุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค จำนวน 14 อุตสาหกรรม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตราหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) อัตราหมุนของสินค้าคงเหลือ (ITR) และอัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (APT) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพกำไร ด้านอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อยอดรายได้ (OPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) อัตราหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) และอัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพกำไร ด้านอัตรากำไรสุทธิต่อยอดรายได้ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) อัตราหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) และอัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (APT) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพกำไร ด้านอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และด้านอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 16มีนาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/about/overview/history_p.html.

นพพล หาญวิชัยวัฒนา. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทํากําไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปรารถนา ขุดสุวรรณ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ บริษัท ไอ อาร์ พี ซี จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาโนช สูอาพัน. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์ กรณีศึกษา: SET50 และ MAI. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริมา แก้วเกิด. (2557). การวิเคราะห์คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร.กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริมา แก้วเกิด. (2559). การวัดคุณภาพกำไรจากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรม ยานยนต์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สภาวิชาชีบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (n.d.). Application of International Financial Reporting Standards (IFRS) and International Standards on Auditing (ISAs) in ASEAN. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2562, จาก http://www.fap.or.th/images/column_1370855183/IFRS_ISAs%20Adoption-2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ. (2551). งบการเงิน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2562, จาก http://www.sec.or.th

สุทธิเพ็ญ ดีสวัสดิ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนจากกำไรสุทธิอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ในการอธิบายราคาหลักทรัพย์.วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.