ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการเพาะปลูกยาสูบ ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม จากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 114 ครัวเรือน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 45.08 ปี มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.96 คน ปลูกยาสูบเป็นอาชีพหลัก มีประสบการณ์ปลูกยาสูบเฉลี่ย 9.84 ปี ต้นทุนการปลูกยาสูบแบ่งเป็นต้นทุนคงที่ 6,864.26 บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนผันแปร 14,026.21 บาทต่อไร่ต่อปี รวมต้นทุนทั้งหมด 20,890.47 บาทต่อไร่ต่อปี มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 192.77 กิโลกรัมต่อปี ราคาขายเฉลี่ย 87.20 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้มีรายรับเฉลี่ย 32,287.84 บาทต่อไร่ต่อปี และผลตอบแทนสุทธิ 5,634.21 บาทต่อไร่ต่อปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
เจษฎา ว่องไว. (2546). การผลิตและการซื้อขายยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียโดยการทำสัญญากับ สถานีใบยาในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายปีพ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลำพรรณ คีรีแก้ว. (2554). ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยาสูบในเขตอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมชาย เทพารักษ์. (2558). วิธีการปลูกยาสูบ. อุดรธานี: สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.