ตัวแบบปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

Main Article Content

ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นการพัฒนาตัวแบบปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีลักษณะเป็นวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบทางทฤษฎีด้วยวิธีการทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติลาวที่เข้ามาทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จำนวน 220 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตรวัดประมาณค่า 7 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลจากการวิจัย พบว่า ตัวแบบปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติลาว มี 4 องค์ประกอบ 11 ตัวแปร ได้แก่ องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าจ้าง องค์ประกอบด้านสังคม ประกอบด้วย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเอื้ออาทรในสังคม และความคล้ายคลึงทางสังคม องค์ประกอบด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย ศาสนา และภาษา องค์ประกอบด้านการเมือง ประกอบด้วย สิทธิเสรีภาพ นโยบายแรงงานข้ามชาติ และกฎหมายแรงงานข้ามชาติ โดยตัวแบบมีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความเที่ยงในการวัดอยู่ในเกณฑ์ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2558). คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าและการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. นนทบุรี: กระทรวงพาณิชย์.

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). การเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคอาเซียนและสถานการณ์แรงงานไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกษมณี แคว้นน้อย และ บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานอพยพลาวในสถานประกอบการจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 11(4), 135-156.

ชาตรี มูลสถาน. (2554). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวลาวในประเทศไทยใน พ.ศ. 2563. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาคริสเตียน.

ชูพักตร์ สุทธิสา. (2556). แรงงานข้ามชาติลาวภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธนาคารโลก. (2012). พลังบวกจากแรงงานข้ามชาติ แนวโน้มด้านการย้ายถิ่นและบทเรียนเชิงนโยบายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ธนาคารโลก (สำนักงานในประเทศไทย).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

เนตรดาว เถาถวิล. (2549). เพศพาณิชย์ข้ามพรมแดน: ประสบการณ์ของหญิงลาวในธุรกิจบริการทางเพศในพรมแดนไทย – ลาว. วารสารสังคมศาสตร์, 18(2), 170 – 202.

พระโสภณพัฒนบัณฑิต และ อุทัย วรเมธีศรีสกุล. (2560). พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 39-48.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2552). การย้ายถิ่น: ทฤษฎีและความเป็นไปในเอเชีย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยา ฟูสาย. (2553). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน: กรณีศึกษา กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ กะเหรี่ยง และ คะยาห์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.).

เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์. (2540). ประชากรศาสตร์ สาระสำคัญโดยสังเขป. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูเขียว จันทร์สมบูรณ์. (2549). การศึกษาปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันในการย้ายถิ่นเพื่อขายแรงงานของแรงงานจากนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มีชัย แสงจันทร์ทะวงค์. (2550). การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของการไปทำงานต่างประเทศของแรงงานลาวในนครหลวงเวียงจันทร์. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคม ลุ่มน้ำโขง, 7(3), 121-134.

สำนักเลขาธิการอาเซียน. (2560). บทสรุปโครงการให้ความรู้แรงงานย้ายถิ่นและการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย. จาการ์ตา: สำนักงานเลขาธิการอาเซียน.

สิริรัฐ สุกันธา. (2557). การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 18(1), 45-63.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่น มีเดีย.

สุลิยา คำวงสา. (2554). สภาพทั่วไปและผลของการไปทำงานในประเทศไทยของแรงงานลาว. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิชาต สุวรรณรัตน์ และ เก็ตถวา บุญปราการ. (2556). ลาวพลัดถิ่น : การกลายเป็นแรงงานข้ามแดนในพื้นที่จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (หน้า 134-141). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, จรัมพร โห้ลำยอง และ กัญญา อภิพรชัยสกุล. (2554). ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติใน 11 จังหวัดสำคัญในประเทศไทย ปี พ.ศ.2553ประชากรและสังคม 2554 “จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย” (บรรณาธิการ, สุรีย์พร พันพึ่ง และ มาลี สันภูวรรณ์), 137-157

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wliey.

Howe, B., & Sims, K. (2011). Human Security and Development in the Lao PDR Freedom from Fear and Freedom from Want. Asian Survey, 51(2), 333-355.

Hu, L. T., and Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternative. Structural equation modeling, 6(1), 1-55.

International Organization for Migration. (2010). The Relationships among Economic Development, Demographic Change and Migration in the Greater Mekong Subregion. Le Grand-Saconnex, Switzerland. IOM.

Joreskog, K. D., and Sorbom, D. (1989). Lisrel 7: User’s Reference Guide. Chicago: Scientific Software International.

Lewis, A. W. (1954). Economic Development with Unlimited Supplies of Labor. The Manchester School of Economic and and Social Studies, Vol. 22, 139-191.

Ranis, G., and Fei, J. C. H. (1961). A theory of economic development. American Economic Review, Vol. 51, 533-565.

Ravenstein, E. G. (1889). The Laws of Migration. Journal of the Royal Statistical Society LII(June), 241-301.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2013). Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment. New York: United Nations.