การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

ศักรินทร์ วังคะฮาต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าการดำเนินงาน โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของเทศบาลนครอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ จำนวน 400 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Benefit-Cost Ratio ผลจากการวิจัยพบว่า ในภาพรวมโครงการมีประสิทธิผลการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีประสิทธิผลการดำเนินงานอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ส่วนการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า Benefit-Cost Ratio มีค่าเท่ากับ 1.08 แสดงว่าการดำเนินงานของโครงการมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน โครงการดังกล่าวสามารถสร้างมูลค่าผลได้ทางเศรษฐกิจได้มากกว่าต้นทุนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

Article Details

How to Cite
วังคะฮาต ศ. (2019). การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(5), 19–33. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3486
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

เทศบาลนครอุดรธานี. (2561). งานมหกรรม TO BE NUMBER ONE เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด: Udon Love Music season 9. อุดรธานี: สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครอุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์, นพพร จันทรนำชู และ ณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2556). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการสายแยกทางหลวงหมายเลข 331 – บ้านหนองคล้า อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ, 30(1), 1-22.

เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2559). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน พื้นที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 39-49.

ไพโรจน์ ภัทรนรากุล และ แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์. (2561). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 20(1), 57-76.

ภารดี ยิ่งมีทรัพย์ และ บรรลุ พุฒิกร. (2559). ศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการลงทุนโรงงานผลิตน้ำยางข้นในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 12(1), 71-88.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). คู่มือการประเมิน ITA 2561 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. นนทบุรี: ศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ช.).

Willis, K. G. (2002). Iterative Bid Design in Contingent Valuation and the Estimation of the Revenue Maximizing Price for a Cultural Good. Journal of Cultural Economics, Vol.26, 307-324.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.