การประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นของเทศบาลนครอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นของเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ จำนวน 400 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Benefit-Cost Ratio ผลจากการวิจัยพบว่า โครงการมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน พิจารณาได้จากค่า Benefit-Cost Ratio มีค่าเท่ากับ 10.55 แสดงว่าการจัดโครงการดังกล่าวสามารถสร้างมูลค่าผลได้ทางเศรษฐกิจได้มากกว่าต้นทุนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กชกร เอี่ยมอ้น และ อภิญญา วนเศรษฐ. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในธุรกิจ แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเมืองพัทยา: กรณี บริษัท รัน เอ็กเชนท์ จำกัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 150-160.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เทศบาลนครอุดรธานี. (2561). โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นของเทศบาลนครอุดรธานี. อุดรธานี: ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการขนส่ง สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลนครอุดรธานี.
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์, นพพร จันทรนำชู และ ณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2556). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการสายแยกทางหลวงหมายเลข 331 – บ้านหนองคล้า อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ, 30(1), 1-22.
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล และ แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์. (2561). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 20(1), 57-76.
ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.
Willis, K. G. (2002). Iterative Bid Design in Contingent Valuation and the Estimation of the Revenue Maximizing Price for a Cultural Good. Journal of Cultural Economics, Vol.26, 307-324.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.