ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวคำชะโนด : กรณีศึกษาบ้านโนนเมือง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

จามจุรี ผาสุราช
ศรัญญา สุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของครัวเรือนในหมู่บ้านบริเวณแหล่งท่องเที่ยวคำชะโนด โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 170 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า ในปี 2547 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประชาสัมพันธ์ให้คำชะโนดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand ส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น ในช่วงปี 2559 – 2560 เป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวคำชะโนดรุ่งเรืองหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีนักท่องเที่ยวมาเยือนในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ ต่อมาในช่วงกลางปี 2560 เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ภายในเกาะคำชะโนด และนับแต่นั้นมาจำนวนนักท่องเที่ยวได้มีแนวโน้มลดลง การท่องเที่ยวส่งผลทำให้การประกอบอาชีพหลักของครัวเรือนเปลี่ยนจากอาชีพทำการเกษตรมาเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น ได้แก่ ขายอาหารและเครื่องดื่ม ทำพานบายศรี ทำเครื่องบูชาและเครื่องสักการะ เป็นต้น การท่องเที่ยวทำให้การว่างงานของครัวเรือนลดลง มีเงินออมเพิ่มมากขึ้น ภาวะหนี้สินไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในกรรมสิทธิ์ที่ดิน การอพยพไปทำงานต่างถิ่นของครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับเดิม และมีชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้ามาประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น การท่องเที่ยวคำชะโนดส่งผลกระทบทางด้านบวกในระดับปานกลางต่อรายได้และอาชีพ การลงทุน และการผลิต และส่งผลกระทบทางด้านลบในระดับปานกลางต่อราคาที่ดิน รายได้และค่าครองชีพ และผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนมีระดับความพึงพอใจค่อนข้างมากต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
ผาสุราช จ., & สุขประเสริฐ ศ. (2019). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวคำชะโนด : กรณีศึกษาบ้านโนนเมือง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(5), 49–60. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3488
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2560-2563: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จุฑารัตน์ ขาวคม. (2548). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวต่อประชาชนท้องถิ่นในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุทยานและนันทนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตรเฉลิม องอาจธนศาล. (2551). การท่องเที่ยวเชิงแนวคิด: ผลิตซ้ำ หรือ นวัตกรรมใหม่. จุลสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ฉบับที่ 4(ตุลาคม-ธันวาคม), 1-17.

ชลธิชา เนียมนาภา. (2557). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่ว่าการอำเภอบ้านดุง. (2560). รายงานสถิติประชากรและบ้านระดับตำบล. อุดรธานี: ที่ว่าการอำเภอบ้านดุง.

พันธ์เทวัช ยังดี และคณะ. (2558). ผลกระทบการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจชุมชนรอบปราสาทหินเขาพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิยาลัยมหาสารคาม.

ศุภธิดา ก้อนศิลา. (2555). ผลกระทบจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาสามพันโบก ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.