การย้ายถิ่นข้ามพรมแดนและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติลาว

Main Article Content

ศิรินุช คาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้ายถิ่นข้ามพรมแดนและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติลาวที่เข้ามาทำงานในไทย จำนวน 400 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษา พบว่า การย้ายถิ่นข้ามพรมแดนของแรงงานข้ามชาติลาวโดยส่วนใหญ่ มีญาติหรือเพื่อนเป็นกลุ่มบุคคลร่วมเดินทางข้ามแดนโดยใช้เงินทุนของตนเอง เดินทางกลับไปยัง สปป.ลาว มากกว่า 3 ครั้ง/ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เยี่ยมครอบครัวหรือญาติ ด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า แรงงานข้ามชาติลาวส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับนายจ้าง มีสภาพที่พักอาศัยที่ดี เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคนไทย และส่งเงินกลับภูมิลำเนาเฉลี่ย 20,752.73 บาทต่อปี ส่วนทักษะด้านภาษา พบว่า สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ยังมีข้อจำกัดด้านทักษะการอ่านและการเขียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์ และประเทือง ช่วยเกลี้ยง. (2562). การค้ามนุษย์เด็ก กรณีศึกษาแรงงานเด็กชาวเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา. วารสารสงคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27(1), 46-70.

เกตุชพรรณ์ คำพุฒ. (2550). การนำเข้าแรงงานลาวในจังหวัดสงขลา: กระบวนการ ปัญหาและผลที่เกิดขึ้น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษมณี แคว้นน้อย และ บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานอพยพลาวในสถานประกอบการจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 11(4), 135-156.

จันทร์เพ็ญ เกตุสำโรง. (2557). การจัดการแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาตรี มูลสถาน. (2554). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวลาวในประเทศไทยใน พ.ศ. 2563. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาคริสเตียน.

ชูพักตร์ สุทธิสา. (2556). แรงงานข้ามชาติลาวภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เนตรดาว เถาถวิล. (2549). เพศพาณิชย์ข้ามพรมแดน: ประสบการณ์ของหญิงลาวในธุรกิจบริการทางเพศในพรมแดนไทย – ลาว. วารสารสังคมศาสตร์, 18(2), 170 – 202.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคม ลุ่มน้ำโขง, 7(3), 121-134.

โสภี อุ่นทะยา. (2556). ปรากฏการณ์แรงงานข้ามชาติ ณ ชายแดนอีสาน. ประชาคมวิจัย, 18(108), 11 – 17.

อภิชาต สุวรรณรัตน์ และ เก็ตถวา บุญปราการ. (2556). ลาวพลัดถิ่น : การกลายเป็นแรงงานข้ามแดนในพื้นที่จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (หน้า 134-141). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, จรัมพร โห้ลำยอง และ กัญญา อภิพรชัยสกุล. (2554). ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติใน 11 จังหวัดสำคัญในประเทศไทย ปี พ.ศ.2553 ประชากรและสังคม 2554 “จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย” (บรรณาธิการ, สุรีย์พร พันพึ่ง และ มาลี สันภูวรรณ์), 137-157.

อรรถพงศ์ ลิมป์กาญจนวัฒน์. 2558. การจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(1), 93-113.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ และ ชัยพงษ์ สำเนียง. (2557). แรงงานข้ามชาติ อัตลักษณ์และสิทธิความเป็นพลเมือง. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Changpitikoun, S. (2008). Factors Influencing Child Workers’ Migration from Lao PDR to Thailand and Consequences: A Case Study of Child Domestic Workers. A Thesis, Master of Art Program in Southeast Asian Studies, Chulalongkorn University.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.