พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้บริโภคในตลาดโบ๊เบ๊อุดร

Main Article Content

ชนิสร บุญสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปและความสัมพันธ์กับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในตลาดโบ๊เบ๊อุดร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มาเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดโบ๊เบ๊อุดรระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2561 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 500 คน โดยวิธีการสุ่มตามสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ความถี่ และการทดสอบไคสแควร์ ผลจากการศึกษาพบว่า โดยส่วนใหญ่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นิยมเลือกซื้อมากที่สุด คือ เสื้อยืด มีปริมาณการซื้อ 2 ชิ้น/ครั้ง มีความถี่ในการซื้อ 1 ครั้ง/เดือน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อระหว่าง 501 – 1,000 บาท/เดือน ใช้เวลาในการเลือกซื้อในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีเหตุผลในการเลือกซื้อคือความชอบและรสนิยมส่วนตัว บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคือเพื่อน มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากเพื่อน และมีรูปแบบการตัดสินใจซื้อโดยทำการเปรียบเทียบราคากับร้านอื่นก่อนตัดสินใจ โดยเพศมีความสัมพันธ์กับชนิดเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดสินใจซื้อ อายุมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการซื้อและบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อตัดสินใจซื้อ อาชีพมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาของเดือนในการซื้อ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับปริมาณการซื้อ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อ และความถี่ในการซื้อ

Article Details

How to Cite
บุญสอน ช. (2019). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้บริโภคในตลาดโบ๊เบ๊อุดร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(6), 17–33. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3493
บท
บทความวิจัย

References

การดี เลียวไพโรจน์ และ ภูมิพร ธรรมสถิตเดช. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขา อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.).

ขวัญจิรา พึ่งพิน (2555). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีในจังหวัดภูเก็ต. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ชัยวิชิต เชียรชนะ, สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียน: ประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 1(2), 1-10.

ณัญช์คณัส ปานเสมศรี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่นในสยามสแควร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนารี นิธากรณ์. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปสำหรับผู้บริโภคที่มีรูปร่างใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจพร นอกตะแบก. (2551). การตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปของประชาชนในเขตบางกะปิ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ผกาวรรณ ไชยพร. (2550). การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในห้างดิสเคาท์สโตร์ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรพิรุณ ตั้งจิตมโนธรรม. (2549). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปสตรีของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสกลนคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์ธวัล แก้วเหมือน. (2550). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของวัยรุ่นตอนปลายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เพ็ญนิภา พรพัฒนนางกูร. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น. การศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภครินทร์ จันทร์สืบเชื้อสาย. (2550). ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วนิดา อินนาวา (2552) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศมนะ สรรพตานนท์. (2551). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าใช้แล้วของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภกฤต ปิติพัฒน์, ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน และสุนิตย์ เหมนิล. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่กำหนดอุปสงค์เสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดโบ๊เบ๊อุดร. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 41-54.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. (1997). Marketing management analysis, planning, implementation and control. 9th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Schiffiman, Leon G.; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994). Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.